Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55507
Title: การจัดสรรงบประมาณแบบเหมาะที่สุดสำหรับการบำรุงรักษาแบบป้องกันของระบบจำหน่ายไฟฟ้า
Other Titles: OPTIMAL BUDGET ALLOCATION FOR PREVENTIVE MAINTENANCE OF DISTRIBUTION SYSTEM
Authors: สิทธิพร ตระกูลไทย
Advisors: สุรชัย ชัยทัศนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Surachai.C@Chula.ac.th,surachai.c@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้าได้เพิ่มสูงขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ความเชื่อถือได้ของระบบจำหน่ายไฟฟ้าถือได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพการบริการของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ดัชนีที่สำคัญประกอบไปด้วย System Average Interruption Frequency Index (SAIFI) ซึ่งแสดงถึงค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งของการเกิดไฟฟ้าดับของผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งรายในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี และ System Average Interruption Duration Index (SAIDI) ซึ่งแสดงถึงค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับของผู้ใช้ไฟฟ้าหนึ่งรายในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี โดยสามารถคำนวณได้จากข้อมูลสถิติเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นในระบบจำหน่ายไฟฟ้าในแต่ละปี การรักษาระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าอย่างเพียงพอ การบำรุงรักษาแบบป้องกันของระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นกิจกรรมหลักที่ผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าทำเป็นประจำ เนื่องจากสามารถช่วยลดโอกาสเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับจากสาเหตุสำคัญบางประการได้ ส่งผลให้ความเชื่อถือได้ของระบบจำหน่ายไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้นและมูลค่าความเสียหายเนื่องจากไฟฟ้าดับของผู้ใช้ไฟฟ้ามีค่าลดลง อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลที่ได้จากการทำกิจกรรมบำรุงรักษาแบบป้องกันนั้นแตกต่างกันตามประเภทกิจกรรมและพื้นที่ที่เลือกทำ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอวิธีการจัดสรรงบประมาณแบบเหมาะที่สุดสำหรับการบำรุงรักษาแบบป้องกันของระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้อยู่ภายใต้มาตรฐานความเชื่อถือได้ที่กำหนด โดยใช้ข้อมูลสถิติเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในอดีตเพื่อใช้คำนวณสำหรับวางแผนเลือกทำกิจกรรมบำรุงรักษาแบบป้องกันสำหรับระบบจำหน่ายไฟฟ้า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอแนวทางการจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้นสามมุมมอง คือ มุมมองภาพรวมของระบบไฟฟ้า ซึ่งมองถึงประโยชน์ของทั้งทางฝั่งผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมกัน มุมมองผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า ซึ่งมองถึงประโยชน์ของทางฝั่งผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าเป็นหลัก และมุมมองความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ซึ่งมองถึงผลในการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าเป็นหลัก ผลการจัดสรรงบประมาณที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจวางแผนสำหรับการทำกิจกรรมบำรุงรักษาแบบป้องกันของระบบจำหน่ายไฟฟ้าต่อไป
Other Abstract: Electricity demand has been increasing in both quantity and quality. Power distribution system reliability is considered as an important indicator to measure service quality of all licensed electric power distribution utilities. Key performance indices are System Average Interruption Frequency Index, SAIFI, and System Average Interruption Duration Index, SAIDI. These indices can be calculated from statistical recorded interruption data. Adequate maintenance activities are required to maintain the system in good condition. Preventive maintenance of power distribution system usually are routine works of every utilities. These preventive maintenance activities can reduce the chances of power outages from some particular causes and result in higher reliability of power distribution system and lower customer outage cost. However, the costs and benefits of preventive maintenance activities vary by activity types and implemented areas. Therefore, it is important to budget appropriately. This thesis proposes the method to determine the optimal budget allocation for preventive maintenance of distribution system in order to improve the reliability of the power distribution system and maintain within the standards. The actual statistical recorded interruption data are used in this method. In this thesis, three perspectives of budget allocation are presented, i.e. power system perspective, utility perspective, and reliability perspective. The optimal allocated budgets and associated maintenance activities which are the obtained results from the proposed method can be used as a guideline for preventive maintenance planning.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55507
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.942
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.942
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770567021.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.