Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5550
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพันธ์ เหลืองทองคำ-
dc.contributor.authorญาณินท์ สวนะคุณานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-18T10:59:05Z-
dc.date.available2008-01-18T10:59:05Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741714661-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5550-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าจังหวะในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทยของผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารกับของผู้พูดปกติต่างกันหรือไม่อย่างไร โดยเปรียบเทียบโครงสร้างของหน่วยจังหวะ ความสั้นยาวของหน่วยจังหวะ และอัตราส่วนความสั้นยาวของพยางค์ภายในหน่วยจังหวะ ในการวิจัยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารเพศชาย 3 คนและผู้พูดปกติเพศชาย 3 คน ซึ่งมีอายุ การศึกษา และรูปร่างใกล้เคียงกัน โดยให้ผู้บอกภาษาเล่าเรื่องที่อยากเล่าเพื่อให้ได้ข้อมูลคำพูดต่อเนื่องที่เป็นธรรมชาติ จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาตัดต่อโดยเลือกเฉพาะข้อมูลช่วงที่ผู้บอกภาษาพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ติดขัด ความยาวประมาณ 5 นาทีต่อผู้บอกภาษา 1 คน และวิเคราะห์โดยแบ่งหน่วยจังหวะด้วยการฟัง พร้อมทั้งวัดค่าระยะเวลาของหน่วยจังหวะและของพยางค์ทั้งพยางค์หนัก พยางค์หนักเงียบ (การหยุดเว้นระยะ) และพยางค์เบา เป็นมิลลิวินาที แล้วจึงนำค่าระยะเวลานั้นมาปรับเป็นอัตราส่วนความสั้นยาวของพยางค์ภายในหน่วยจังหวะ ผลการวิเคราะห์แสดงว่าโครงสร้างของหน่วยจังหวะในคำพูดต่อเนื่องของผู้พูดทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยพบหน่วยจังหวะ 4 ชนิดซึ่งมีโครงสร้างเป็น /P0-3 หน่วยจังหวะทุกชนิดในคำพูดต่อเนื่องของผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารยาวกว่าของผู้พูดปกติ แต่เมื่อเปรียบเทียบด้วยค่าทางสถิติพบว่าความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญ ส่วนอัตราส่วนความสั้นยาวของพยางค์ภายในหน่วยจังหวะของผู้พูดทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเดียวกัน คือ พยางค์แรกในหน่วยจังหวะซึ่งเป็นพยางค์หนักมีอัตราส่วนมากที่สุด ส่วนพยางค์เบาที่เหลือมีอัตราส่วนเท่ากันโดยประมาณในโครงสร้างหน่วยจังหวะทุกชนิดen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to compare rhythm in the connected speech of Thai tracheoesophageal and normal speakers in rhythmic unit structure, rhythmic unit length and syllable quantities.The data were collected from three tracheoesophageal and three normal speakers. All informants were of the same age, educational background and size. In order to get connected speech from the informants, they were asked to tell stories. Five-minute samples of fluent speech were selected for each informant. To identify rhythmic units, the utterances were analyzed auditorily. The duration of each rhythmic unit was measured, as well as the duration of each syllable within it. The results show that rhythmic unit structures of the two groups of informants are the same. There are four types of rhythmic unit with structures of the type /P0-3. All rhythmic units in tracheoesophageal speakers are longer than in normal speakers; however, the difference is not statistically significant. Syllable quantities are found to be similar in both groups. The first syllable, which is stressed, occupies the greatest portion of the rhythmic unit. The rest of the syllables in each rhythmic unit are all weak and approximately equal.en
dc.format.extent4178445 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.368-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพูดโดยใช้หลอดอาหารen
dc.subjectภาษาไทย -- ระบบเสียงen
dc.subjectภาษาไทย -- การพูดen
dc.subjectภาษาไทย -- สัทศาสตร์en
dc.titleการเปรียบเทียบจังหวะภาษาไทยในการพูดของผู้พูดที่ใช้หลอดลม - หลอดอาหาร กับการพูดของผู้พูดปกติen
dc.title.alternativeA comparison of rhythm in Thai tracheoesophageal and normal speechen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTheraphan.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.368-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yanin_Sawa.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.