Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55520
Title: การศึกษาเปรียบเทียบถ่านโค้กเพื่อผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
Other Titles: Comparative Study of Cokes for Electrical Power Generation in Thailand
Authors: สุดลพ รัตนเกื้อกังวาน
Advisors: สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.Ta@Chula.ac.th,Somkiat.Ta@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถานการณ์ทางพลังงานในปีพ.ศ. 2558 ของประเทศไทยกำลังเผชิญกับการพึ่งพาเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเพียงเชื้อเพลิงเดียว กระทรวงพลังงานจึงออกแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2558 – 2579 เพื่อลดสัดส่วนการใช้แก๊สธรรมชาติโดยการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบิทูมินัส แต่ได้เกิดกระแสต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างรุนแรงด้วยเหตุผลด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถ่านหิน ส่งผลให้โครงการมีความล่าช้าและอาจนำไปสู่การยกเลิกโครงการ งานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอการเลือกใช้เชื้อเพลิงถ่านหินที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมก่อนใช้งาน ได้แก่ การนำถ่านหินใช้ทำถ่านโค้กผลิตถ่านโค้กคุณภาพสูงและแก๊สจากเตาผลิตถ่านโค้กเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า และการนำถ่านหินลิกไนต์ผลิตลิกไนต์โค้กและพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเปรียบเทียบกับการใช้ถ่านหินบิทูมินัสในการผลิตไฟฟ้า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบโครงการ จากการสร้างแบบจำลองต้นทุนโดยการพิจารณาจากมุมมองด้าน พลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฯ ผลจากแบบจำลองต้นทุนของสามโครงการพบว่า โครงการที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยต่ำที่สุดคือ การใช้ถ่านหินบิทูมินัสในการผลิตไฟฟ้าที่ 1.768 บาทต่อหน่วย ตามด้วยโครงการถ่านหินลิกไนต์ฯที่ 1.964 บาทต่อหน่วย และโครงการถ่านหินใช้ทำถ่านโค้กฯที่ 2.250 บาทต่อหน่วย แต่ผลการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกลับพบว่าโครงการถ่านหินใช้ทำถ่านโค้กฯมีมลพิษต่ำที่สุด อีกทั้งการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดของถ่านหินใช้ทำถ่านโค้กซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของโครงการถ่านโค้กคุณภาพสูง พบว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่ต้นทุนต่อหน่วยของโครงการถ่านโค้กคุณภาพสูง จะต่ำกว่าต้นทุนต่อหน่วยของการใช้ถ่านหินบิทูมินัส การใช้งานของโครงการถ่านโค้กคุณภาพสูงฯนี้ นอกจากจะเป็นการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากเชื้อเพลิงถ่านหินแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้นการเลือกใช้ถ่านหินใช้ทำถ่านโค้กผลิตถ่านโค้กคุณภาพสูงและแก๊สจากเตาผลิตถ่านโค้กในการผลิตไฟฟ้าอาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดกับสถานการณ์ทางพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน
Other Abstract: Thai government has launched the Power Development Plan of Thailand 2015 to reduce the dependency of natural gas for power generation by introducing the Bituminous-coal-fired power plant project. However, there are many controversies about the coal’s environmental issues that cause the project to be postponed and might lead to the cancellation. Hence, the government has to reconsider the use of natural gas which causes Thailand’s energy to be more insecured. To reduce both the environmental problem and the insecurity, two alternatives that are considered will be the development of coal’s quality in both environmental and energy aspects are proposed. The first project is to use the metallurgical coke and coke oven gas from coking coal for generating electricity. The second one is to use the lignite coke from lignite. This thesis aims to compare the cost per unit of bituminous, lignite coke and metallurgical coke projects by generating the cost model which considers three main point of view, which are energy, environment and economic. Result from the cost models shows that bituminous project is the best option with its cost per unit at 1.768 Thai Baht per unit, while lignite coke’s and metallurgical coke’s are 1.964 and 2.250 respectively. However, the least polluted fuel is metallurgical coke. After the analysis of coking coal’s market, it is possible that the metallurgical coke’s cost will be less than bituminous in the near future. In conclusion, not only will the metallurgical coke choice reduce the environmental problem, but it also decrease the insecurity of Thailand energy due to the dependency of natural gas. The use of coking coal to producing the metallurgical coke and coke oven gas for the power generation might be the solution for Thailand’s energy situation at this moment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55520
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1058
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1058
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5970341721.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.