Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55623
Title: | แนวทางการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงของป้ายโฆษณาแอล.อี.ดี.ในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | DESIGN GUIDELINES FOR REDUCING LIGHT POLLUTION IMPACTS FROM THE DIGITAL LED SIGNS IN BANGKOK CENTRAL BUSINESS DISTRICT |
Authors: | สลิลทิพย์ อรุณนิธิ |
Advisors: | จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittisak.T@chula.ac.th,jittisakt@gmail.com Vorapat.I@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ป้ายโฆษณาแอล.อี.ดี.ส่วนใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางแสง ประเภทแสงบาดตา ซึ่งนอกจากมีสาเหตุมาจากความสว่างที่มากเกินไปของป้าย ตำแหน่งในการติดตั้งป้ายก็เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีผลกับการลดผลกระทบจากแสงบาดตาในเวลากลางคืน จากป้ายโฆษณาแอล.อี.ดี. ในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง และสร้างเงื่อนไขเชิงทางกายภาพของพื้นที่ที่สามารถติดตั้งป้ายโฆษณาแอล.อี.ดี. ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทพื้นที่ โดยก่อให้เกิดผลกระทบจากแสงบาดตาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะคนเมืองน้อยที่สุด จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติม และสำรวจพื้นที่เบื้องต้น จึงได้กรอบแนวคิด กรอบการเก็บข้อมูล และกรอบการวิเคราะห์ เพื่อนำไปสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ศึกษาย่านสยาม-ปทุมวัน โดยเก็บข้อมูลเชิงกายภาพ ได้แก่ ประเภทบริบทที่ตั้ง บริบทจุดมอง บริบทหลังป้าย ระยะห่างจากป้ายถึงจุดมอง ความสูงของป้ายจากพื้นดิน และความสูงอาคารหลังป้าย รวมถึงข้อมูลเชิงเทคนิค ได้แก่ ขนาดป้าย ความสว่างป้าย ความสว่างบริบท และความส่องสว่างในบริบท แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีผล ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทางกายภาพเมืองที่มีผลได้แก่ (1) ประเภทที่ว่าง โดยประเภทตำแหน่งที่ตั้งและบริบทจุดมองแบบริมถนนสาธารณะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแสงบาดตามากที่สุด บริบทหลังป้ายแบบท้องฟ้าก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแสงบาดตามากกว่าบริบทแบบอาคาร (2) ขนาดของที่ว่าง หมายถึง ระยะห่างจากจุดมองถึงป้าย โดยมีความเกี่ยวเนื่องกับ (3) ความสูงอาคาร ซึ่งป้ายที่จะติดตั้งควรมีสัดส่วนระยะห่างจากจุดมองถึงป้ายต่อความสูงอาคารไม่น้อยกว่า 1:1.3 จึงจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยได้มีการสร้างเงื่อนไขสำหรับการติดตั้งป้ายที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละขนาดของที่ว่าง เพื่อเป็นข้อแนะนำในการติดตั้งป้ายให้เกิดปัญหาแสงบาดตาน้อยที่สุด และนำไปสู่การศึกษาวิจัยต่อไป |
Other Abstract: | Most of the digital LED signs in Bangkok are causing light glare pollution. The glares could be generated by either the over brightness level of LED billboards or the context of billboards location. This research aimed to study how the physical urban elements helped reduce the impacts of light glare produced by digital LED signs at night in Bangkok central business district. Also, to set up criteria for installing LED billboards with minimal impacts to the public health. The literature reviews and preliminary site survey was conducted to create the frameworks for the site survey and the analysis. Next, the site study at Siam-Pratumwan district was analyzed and physical data was collected such as context of billboards location, viewpoint location, types of background, and distance to the viewer. The technical data was also examined including size and luminance of billboard, and luminance and illuminance of the surrounding. Finally, the physical and technical data were analyzed to find the effective urban elements. The findings indicated that the physical urban elements influencing the impacts of glare were: (1) the types of urban space, in which the street type location has the highest risk in producing the most glares, (2) the size of urban space is the distance between the billboard and viewpoint, (3) the height of the building. Therefore, to reduce the effects of glare the distance between the billboard and viewpoint to the height of the building must have the minimal ratio of 1:1.3. Furthermore, the above results were used to create criteria for the suitable size of urban space and further suggestions in setting up LED signs with the least impacts of glare. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55623 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.280 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.280 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873329725.pdf | 24.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.