Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55624
Title: | การอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์โดยมาตรการโอนสิทธิการพัฒนา กรณีศึกษา พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาส กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A STUDY OF TRANSFER OF DEVELOPMENT RIGHT (TDR) AS A TOOL IN CONSERVATION OF HISTORICAL BUILDINGS IN THE EXTENDED RATTANAKOSIN AREA: CASE STUDY OF WATMANGKORNKAMMALAWAT MRT STATION AREA, BANGKOK |
Authors: | สาริณี ประทุมสุวรรณ |
Advisors: | ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nattapaong.P@chula.ac.th,aj.nattapong.cuurp@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่ย่านวัดมังกรกมลาวาสเป็นหนึ่งในพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง เนื่องด้วยข้อกำหนดตามผังเมืองรวมกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) สูง นอกจากนั้นภายในพื้นที่ยังมีโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง จึงทำให้มีแนวโน้มการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่นสูงขึ้น แนวโน้มดังกล่าวอาจส่งผลให้การอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดำเนินการได้ยาก เนื่องจากมูลค่าที่ดินที่สูงขึ้นทำให้เจ้าของที่ดินบางรายขายที่ดินให้กับนายทุนซึ่งมีแผนการรื้ออาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาอาคารใหม่ขึ้นแทน ทั้งนี้ การอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่มีแรงกดดันจากการพัฒนาสูงเช่นเดียวกับพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์มักมีการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right - TDR) เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเจ้าของอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดำเนินการอนุรักษ์อาคารให้คงอยู่ต่อไป แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาแนวทางในการดำเนินการใช้มาตรการนี้อย่างชัดเจน การวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและแนวทางในการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน โดยศึกษาแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่ย่านวัดมังกรกมลาวาส และแนวทางการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนากับอาคารที่ถูกควบคุมตามแนวทางการอนุรักษ์ ทั้งนี้มีอาคารที่ถูกควบคุมเพื่อการอนุรักษ์จำนวน 1,208 อาคาร จำแนกเป็นอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จำนวน 788 อาคาร และอาคารทั่วไป จำนวน 420 อาคาร อาคารเหล่านี้ถือเป็นอาคารที่ควรนำมาตรการการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) มาใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาการถูกรอนสิทธิการพัฒนา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงลึก พบว่ามาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) เป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้กับแปลงที่ดินขนาดเล็ก แต่ไม่สามารถเป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจแก่แปลงที่ดินขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงควรนำเครื่องมือส่งเสริมการอนุรักษ์อื่นมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ในพื้นที่ ทั้งนี้ในการดำเนินการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ควรมีองค์กรภาครัฐเข้ามาดูแล และมีการบันทึกข้อมูลในโฉนดอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม |
Other Abstract: | Watmangkornkammalawat district is one of the areas in the extended Rattanakosin Area, with many historical buildings, has a high potential for development under the comprehensive plan requirements that set this area to be a high proportion of floor area ratio (FAR). Moreover, there is Metropolitan Rapid Transit (MRT) projected, effect of historical buildings in there. Due to the higher land value, some landowners sell their land to capitalists who have plans to dismantle historical buildings and develop new buildings instead. In another case with high development pressures as well as the extended Rattanakosin Area always, Transfer of Development Right (TDR) is a tool to encourage private owners of historic buildings to conserve their buildings. But in Thailand, there are no clear guidelines for implementing this measure. The purpose of this research is to study the effectiveness and the guidelines for the transfer of development rights in order to promote the sustainable conservation of historic buildings. By studying the conservation of the Watmangkornkammalawat district and guidelines for the transfer of development rights with buildings controlled by conservation guidelines. There are 1,208 buildings controlled for conservation, classified as 788 historic buildings and 420 buildings. The TDR should be used as a tool to compensate for the deprivation of development rights with these buildings. The researcher has conducted an in-depth study found that the TDR is an economic incentive for small land lot sizes. However, it cannot be an economic incentive for large land lot sizes, so other conservation tools should be promoted to conservation in the area. In the implementation of the TDR, there should be government organizations to control this measure. And the record in the deed clearly to be fair. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การออกแบบชุมชนเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55624 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.278 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.278 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873330225.pdf | 20.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.