Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55631
Title: การปรับภูมิทัศน์ทางสัญจรเพื่อลดผลกระทบจากฝุ่นละอองในพื้นที่ชุมชนเทศบาลตําบลหน้าพระลาน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
Other Titles: STREETSCAPE ADAPTATION FOR REDUCING DUST POLLUTION IN NAPHRALAN SUBDISTRICT MUNICIPALITY, AMPHOE CHALOEM PHA KIAT CHANGWAT SARABURI
Authors: บูซิตา หลิ่มเจริญ
Advisors: พรสรร วิเชียรประดิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsan.V@Chula.ac.th,pornsan.v@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปัญหาทางด้านมลภาวะทางฝุ่นละอองถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยพื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองหินเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบสูง ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหานอกเหนือจากการฟุ้งกระจายจากแหล่งกำเนิดแล้ว การจราจรขนส่งก็นำพามลภาวะฝุ่นละอองเข้าสู่พื้นที่เมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะภูมิทัศน์ทางสัญจรในพื้นที่ชุมชนเมืองที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพื่อเสนอแนวทางการปรับภูมิทัศน์ทางสัญจรในการลดผลกระทบจากมลภาวะฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนเมืองรอบอุตสาหกรรมเหมืองหิน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้มาตรการทางผังเมืองในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาบริเวณพื้นที่ริมทางสัญจร โดยแบ่งกลุ่มพื้นที่สำรวจตามลำดับศักย์ถนน ด้วยการศึกษาองค์ประกอบภูมิทัศน์ทางสัญจรประกอบกับภูมิทัศน์อาคารที่ช่วยลดผลกระทบจากฝุ่นละออง เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นการป้องกันมลภาวะฝุ่นละอองกับปริมาณการจราจร และประเมินผลคุณภาพในเชิงการป้องกันฝุ่นละออง โดยใช้ผลที่ได้การสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ประกอบการวิเคราะห์ผลที่ได้จากสำรวจ การศึกษาครั้งนี้พบว่า พื้นที่ศึกษาบริเวณชุมชนเทศบาลตำบลหน้าพระลาน มีลักษณะเฉพาะในเรื่องรูปแบบอาคาร ซึ่งพบว่ามีการใช้วัสดุกระจกในสัดส่วนที่สูงกว่าพื้นที่นอกเขตอุตสาหกรรมเหมืองหิน และระยะตำแหน่งที่ตั้งจากจุดกำเนิดฝุ่นละอองจากการขนส่งของอุตสาหกรรมเหมืองหินในพื้นที่ชุมชนเมือง มีผลต่อลักษณะภูมิทัศน์ทางสัญจรในด้านการป้องกันฝุ่นละออง ซึ่งลักษณะในการป้องกันฝุ่นละอองที่ดีนั้นไม่ได้เป็นไปตามคุณลักษณะของการเป็นเมืองน่าอยู่ จึงเสนอวิธีการปรับสภาพกายภาพภูมิทัศน์ทางสัญจรเพื่อให้มีความเฉพาะตัวในการป้องกันมลภาวะฝุ่นละออง และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่ โดยเสนอการปรับภูมิทัศน์ทางสัญจร ได้แก่ 1) รูปแบบด้านหน้าอาคารควรมีการใช้วัสดุกระจกหรืออื่นๆ ที่เกิดปฏิสัมพันธ์ภายในและภายนอกอาคาร 2) การถอยร่นอาคารไม่ควรประชิดทางสัญจร 3) รูปแบบพืชพรรณที่เป็นแนวกันชนป้องกันที่ดีควรมีหลากหลายขนาดซ้อนกัน 4) สิ่งอำนวยความสะดวกในเขตบาทวิถีควรอยู่หลังแนวพืชพรรณ 5) กิจกรรมร้านค้าแผงลอยควรตั้งหลังแนวบาทวิถี 6) พื้นที่จุดเปลี่ยนถ่ายหน้าอาคาร ควรอยู่ถัดจากทางเท้าหรือเพิ่มทางเดินเข้ามาในอาคาร จากข้อเสนอแนะข้างต้นจะช่วยให้พื้นที่เมืองสามารถป้องกันมลภาวะฝุ่นละออง และเป็นไปตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่
Other Abstract: Dust pollution is an important issue to consider in order to maintain ambient air quality, especially in the quarry industry areas which are polluted. The major cause is not only dust pollution dissipated from the main stationary quarry sites but also the transportation of the industry. This inevitably brings dust pollution into urban areas. This research aims to study the characteristics of the streetscape in a polluted urban area, and also provides guidance for reducing the effects of dust pollution in urban areas nearby quarry industry sites, in case that there is no suitable solution in urban planning such as relocation of residential area. Streetscape is focused in this research. The survey areas are divided by the hierarchy of the streets. The survey consists of observation the characteristics of streetscape elements which help protecting and reducing the impact of dust pollution. With comparison, the relevance between the concentration of pollutants and traffic volume is defined, and existing streetscape elements for dust protection is evaluated by physical survey data together with the interview results from local inhabitants and local authorities. It is found that study area of Naphralan Subdistrict Municipality has unique characteristics of streetscape such as building's facade for dust protection. The use of glass materials in the study area is in higher ratio than the area outside the quarry industry. The characteristics of streetscape for dust prevention are also related on the hierarchy of streets. Though the streetscape in Naphralan is adapted to be good for dust prevention but it does not comply with the livable city theory. Therefore, there are suggestions to adjust the streetscape to be lively and able to prevent dust pollution. Proposed streetscape adaptations are: 1) The facade should be glass or other materials that enable interaction between the inside and outside of buildings. 2) Buildings should not be adjacent to streets. 3) Various sizes of plant should be used as buffers. 4) Facilities on the sidewalk should be behind the plant buffers 5) Street vendors should be located behind sidewalks 6) The transition space between front line of buildings and sidewalks should be increased or arcade should be encouraged. This will enable good practice of dust protection in urban areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55631
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.277
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.277
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873355025.pdf25.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.