Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55654
Title: | ผลกระทบขององค์ประกอบทางการออกแบบแสงประดิษฐ์บริเวณโถงต้อนรับภายในอาคารสำนักงาน กรณีศึกษาสำนักงานออกแบบ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | THE EFFECT OF LIGHTING ELEMENTS ON USERS PERCEPTION: CASE STUDIES OF DESIGN OFFICE RECEPTION |
Authors: | อังสนา จันทร์แทน |
Advisors: | พรรณชลัท สุริโยธิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phanchalath.S@Chula.ac.th,sphancha@yahoo.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากองค์ประกอบการออกแบบแสงประดิษฐ์ในส่วนโถงต้อนรับภายในสำนักงานออกแบบที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของผู้มาติดต่อ โดยเลือกวิจัยในส่วนขององค์ประกอบแสงประดิษฐ์ภายในโถงต้อนรับและในสำนักงานออกแบบขนาดใหญ่ ในกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน โดยมีหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้แสงประดิษฐ์และรูปแบบการส่องสว่างที่สามารถเกิดขึ้นจริงและสื่อถึงอารมณ์ที่แตกต่างกัน การศึกษาที่ 1 มีการจำลองโดยการคำนึงถึงปัจจัยระดับความสูงฝ้าเพดาน การออกแบบแสงที่ผนัง และฝ้าเพดาน โดยใช้ฝ้าเพดานหลุม ฝ้าเพดานเรียบ ผนังตกแต่งด้วยแสงแบบ wallwasher และผนังแบบที่ไม่มีแสงตกแต่ง กำหนดค่าความสูงที่ 2.50 เมตร และ 3.00 เมตร ดังแสดงในเป็นตารางที่ 3.2.1 การศึกษาที่ 2 ได้นำผลการศึกษาที่ 1 มาคัดเลือก โดยใช้หลักการหาค่าเฉลี่ย 2 ใน 3 (ค่าเฉลี่ย 66.67% ขึ้นไป)และนำมาสร้างแบบจำลองโดยเพิ่มปัจจัยความส่องสว่างในด้านความสว่างที่แตกต่างกัน โดยกำหนดค่าในโปรแกรม 3D MAX อีกทั้งเพิ่มองค์ประกอบของการจัดแสงแบบ Decorative Lighting โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เบื้องต้น และทบทวนวรรณกรรมเพื่อหาคำจำกัดความที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับแบบสอบถาม โดยใช้มาตรวัดความรู้สึกที่ -3 ถึง 3 (Osgood Scale, 1957) โดยผู้ตอบแบบสอบถามคือบุคคลทั่วไปจำนวน 120 คน หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ ใช้การวิเคราะห์แบบ Descriptive Statistic, Correlation coefficient และ Manova เพื่อดูผลทางสถิติ งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าปัจจัยองค์ประกอบทั้ง 4 ปัจจัยล้วนมีผลกระทบทางด้านการรับรู้ด้านความพึงพอใจและความรู้สึก โดยมีองค์ประกอบหลัก ซึ่งสรุปได้ว่าการออกแบบองค์ประกอบภายในส่วนโถงต้อนรับต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของหลายๆองค์ประกอบซึ่งส่วนที่ทำให้เกิดความรู้สึกชอบและความชอบที่เกิดขึ้นนั้นๆจะแตกต่างกันไปตามความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ โดยส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างจะมองในภาพรวมมากกว่าการมองทีละองค์ประกอบ จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการออกแบบสำหรับผู้ออกแบบที่ไม่มีประสบการณ์ |
Other Abstract: | This research aims to examine the effect of light design element in the design office lobbies on visitor’s perception. This study is conducted with light element that is widely used in big design office in Bangkok. The study is divided into 2 parts using different criteria the use of artificial light and illumination that is practicable and convey the mood. The first study was created by taking into account height factors of the ceiling and wall and ceiling lighting design using ceiling panels with grooves and the evenly leveled ceiling panels with the wall washer light and the wall without light. The ceiling height was 2.50 meters and 3.00 meters as shown in Table 3.2.1. The second study was based on a two-thirds average and was created by adding a different brightness factor, bright and dim. The figure was setting in 3D MAX program and decorative lighting elements were added. The researcher has collected by interview and reviewing the literature to find appropriate definitions to be used in questionnaires which is -3 to 3 (Osgood Scale, 1957). The questionnaire was distributed to 120 samples and the statistic computer program was used. This research can conclude that all four factors have a perceived affect on satisfaction and feelings. The main elements were the design of the ceiling: ceiling panels with grooves and the evenly leveled ceiling panels. The researcher divided the design group using the requirements of two ceiling elements. Group 1 was for designers who want to use the ceiling panels with grooves and group 2 for designers who want to use evenly leveled ceiling panels. This research can be used as a guideline for non-experience designer with the criteria for the use of artificial light and illumination that can actually happen and convey different emotions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55654 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1150 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1150 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873597525.pdf | 7.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.