Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5566
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงาน ความเครียด วีธีการจัดการกับตัวก่อความเครียดและวิธีการจัดการกับความเครียด โดยมีความอดทนต่อแรงกดดัน ความต้องการสำเร็จและความต้องการสัมพันธ์เป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: Relationships among work stressors, stress, coping with stressors, and coping with stress: the moderating effects of stressor tolerance, need for achievement, and need for affiliation
Authors: รติกร ลีละยุทธสุนทร
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความเครียดในการทำงาน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่าง 4 ตัวแปร คือ ตัวก่อความเครียดในงาน ความเครียด วิธีการจัดการกับตัวก่อความเครียด และวิธีการจัดการกับความเครียด โดยมีความอดทนต่อแรงกดดัน ความต้องการสำเร็จ และความต้องการสัมพันธ์เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงานกับความเครียด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ มาตรวัดการรับรู้ตัวก่อความเครียดในงาน มาตรวัดความเครียด มาตรวัดวิธีการจัดการกับตัวก่อความเครียด มาตรวัดวิธีการจัดการกับความเครียด มาตรวัดความอดทนต่อแรงกดดัน มาตรวัดความต้องการสำเร็จและมาตรวัดความต้องการสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความอดทนต่อแรงกดดัน ความต้องการประสบความสำเร็จ และความต้องการสัมพันธ์ไม่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างตัวก่อความเครียดในงานกับความเครียด 2. วิธีการจัดการกับต่อก่อความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับตัวก่อความเครียดในงาน 3. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับความคิดโดยการยอมรับความจริง (r = -.23, p<.05) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (r = .19, p<.05) และการระบายความเครียด (r = .21, p< .05) 4. ความอดทนต่อแรงกดดันส่งผลทางลบต่อการระบายความเครียด (beta = -.41, p<.01) และการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (beta = -.24, p<.01) 5. ความต้องการสำเร็จส่งผลทางบวกต่อการวางแผน (beta =.47, p<.01) การแก้ปัญหา (beta = .46, p<.01) และการปรับความคิดโดยการยอมรับความจริง (beta = .46, p<.01) 6. ความต้องการสัมพันธ์ส่งผลทางบวกต่อการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม (beta = .52, p<.01) การแสวงหาความเพลิดเพลิน (beta = .24, p<.01) และการปรับความคิดโดยการยอมรับความเป็นจริง (beta = .22, p<.05)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationships among work stressors, stress, coping with stressors, and coping with stress. The moderating effects of stressor tolerance, need for achievement, and need for affiliation on the relationship between work stressors and stress were also investigated. The instruments were Work Stressors Scale, Stress Scale, Coping with Stressors Scale, Coping with Stress Scale, Stressor Tolerance Scale, Need for Achievement Scale, and Need for Affiliation Scale. The subjects were 120 employees in a business company. It was found that 1. Stressor tolerance, need for achievement, and need for affiliation did not moderate relationship between work stressors and stress. 2. Coping with stressors had no correlation with work stressors. 3. Stress had a negative correlation with positive thinking (r = -.23, p<.05), but had a positive correlation with seeking social supports (r = .19, p<.05) and tension release (r = .21, p<.05). 4. Stressor tolerance had a negative effect on seeking social supports (beta = -.41, p<.01) and tension release (beta = -.24, p<.01). 5. Need for achievement had positive effects on planning (beta = .47, p<.01), problem solving (beta = .46, p<.01), and positive thinking (beta = .46, p<.01). 6. Need for affiliation had positive effects on seeking social supports (beta = .52, p<.01), pleasure seeking (beta = .24, p<.01), and positive thinking (beta = .22, p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5566
ISBN: 9741745621
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratikorn.pdf927.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.