Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55668
Title: บทบาทของกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อในการวินิจฉัยภาวะมะเร็งกระจายมาที่เยื่อบุช่องท้อง
Other Titles: Role of endoscopic ultrasound guided fine needle aspiration for diagnosis of peritoneal carcinomatosis : A prospective study
Authors: สิริลักษณ์ อยู่ประเสริฐ
Advisors: ประเดิมชัย คงคำ
ดวงเพ็ญ ถิระบัญชาศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pradermchai.K@Chula.ac.th,euschula@gmail.com,kongkam@hotmail.com
Duangpen.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยที่มีเยื่อบุช่องท้องผิดปกติ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยจากการสืบค้นในเบื้องต้น มักจะต้องเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยโรคต่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันมีการใช้กล้องคลื่นเสียงเพื่อการวินิจฉัยเนื้อเยื่อผิดปกติในช่องท้องซึ่งมีอัตราการวินิจฉัยสูงและความเสี่ยงต่ำ จึงเป็นที่มาของการศึกษาหาประสิทธิภาพการใช้กล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อ ในการวินิจฉัยภาวะมะเร็งกระจายมาที่เยื่อบุช่องท้องเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยแบบไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการสันนิษฐานว่ามีมะเร็งกระจายมาที่เยื่อบุช่องท้องจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการส่องกล้องคลื่นเสียงเพื่อตรวจหาความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้องร่วมกับทำการดูดเนื้อเยื่อ นำส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หากผลตรวจทางพยาธิวิทยาพบว่าเข้าได้กับภาวะมะเร็ง แสดงว่าความผิดปกติของเยื่อบุช่องท้องเกิดจากมะเร็ง แต่หากในรายที่ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาไม่พบภาวะมะเร็งหรือผลไม่สามารถบ่งชี้ชัด ผู้ป่วยจะถูกแนะนำให้ปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยผ่านทางหน้าท้อง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือไม่ยินยอมผ่าตัด จะใช้การติดตามอาการเป็นระยะเวลา 6 เดือนเพื่อสรุปสาเหตุของโรคแทน ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการรักษา 23 ราย อายุเฉลี่ย 60.9 +/-13.3 ปี ผู้ป่วยทุกรายได้รับการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อมาตรวจ รวม 23 ครั้ง โดยใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อรวม 68 รอบ การวินิจฉัยโรคสุดท้ายของผู้ป่วยในการศึกษานี้ ส่วนมากมีสาเหตุจากมะเร็ง 21 ราย คิดเป็น ร้อยละ 91.3 และไม่ได้เกิดจากมะเร็ง 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.7 โดย การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดตรวจเนื้อเยื่อสามารถวินิจฉัยพบเซลล์มะเร็ง 18 ราย ส่วนอีก 5 รายไม่พบ เซลล์มะเร็ง โดยในผู้ป่วย 5 รายนี้ มี 2 ราย ได้เข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็ง กระเพาะอาหารระยะลุกลาม 1 ราย และ เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน 1 ราย, อีก 1 ราย ได้เข้ารับการ ใช้เข็มตัดชิ้นเนื้อผ่านทางผิวหน้าท้อง ได้รับวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนอีก 2 รายปฏิเสธเข้ารับการผ่าตัดจึงใช้การติดตามอาการเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยที่ 1 รายเป็นผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลามมีสภาพร่างกายไม่พร้อมเข้ารับการผ่าตัด และอีก 1 รายเป็นผู้ป่วยวัณโรคในช่องท้องที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านวัณโรค ดังนั้นการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดเนื้อเยื่อมีอัตราความไว ความจำเพาะและ อัตราการวินิจฉัยความผิดปกติของเยื่อยุช่องท้องคิดเป็นร้อยละ 85.7, 100 และ 86.9 ตามลำดับ และช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องวินิจฉัยได้ในผู้ป่วยร้อยละ 78.3 สรุป: การส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้เข็มดูดเนื่อเยื่อมีอัตราการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระจายมายังเยื่อบุช่องท้องสูงและช่วยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยได้
Other Abstract: Background and Objective: In patients with undiagnosed peritoneal lesions, diagnostic laparoscopy is often required to achieve a definite diagnosis from the lesion. We aim to know efficacy of EUS-FNA for avoiding diagnostic laparoscopy in patients with peritoneal lesions. Methods: A prospective study, all consecutive patients with peritoneal lesions from CT scan at King Chulalongkorn Memorial Hospital was enrolled into the study. Exclusion criteria was uncorrectable coagulopathy. EUS-FNA of peritoneal lesions was performed in all patients. Diagnostic laparoscopy was planned if pathological result of EUS-FNA was negative. Avoidance rate for diagnostic laparoscopy as a consequence of EUS-FNA was calculated. Results: Twenty three patients (10 male; mean age+/- SD 60.9+/-13.3 years) were enrolled into the study underwent 23 sessions, 68 passes of EUS-FNA. Presenting symptoms were weight loss (n=21; 91.3%), abdominal distension (n=12; 52.2%), abdominal pain (n=12; 52.2%) and jaundice (n=8; 34.8 %), CT findings were soft tissue nodules/mass deposit in peritoneum (n=18; 78.3%), ascites (n=16; 69.9%), omental cake appearance (n=10; 43.5%) and stranding of mesentery (n=4; 17.4%). Final diagnoses were malignancy in majority of patients (n=21, 91.3%). Only 2 benign cases (n=2, 8.7%). EUS-FNA showed positive results for malignancy in 18/23 patients (78.26%), 35/68 passes (51.5%). No adverse events were observed. Of 5 patients with negative results of EUS-FNA, 2 patients underwent diagnostic laparoscopy which one patient was metastatic stomach cancer and another one had inflammatory tissue from pancreatitis, 1 patient underwent percutaneous biopsy results was lymphoma; another 2 patients refused laparoscopy; one had advanced pancreatic cancer with poor performance status and another one was clinically diagnosed as peritoneal tuberculosis with successful treatment. The sensitivity, specificity and diagnostic yield of EUS-FNA in patients with peritoneal lesions was 85.7%, 100 and 86.9% respectively and diagnostic laparoscopy can be avoided in 18/23 patients (78.3%) Conclusions: EUS-FNA has a high diagnostic yield for diagnosing of causes peritoneal lesions and can avoid diagnostic laparoscopy in majority of patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55668
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1243
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1243
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874081130.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.