Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55706
Title: การวิเคราะห์กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ห้องเรียน
Other Titles: ANALYSIS OF POLICY DELIVERY PROCESS FOR STEM EDUCATION FROM NATIONAL TO CLASSROOM LEVELS
Authors: รัฏฏิกา ตั้งพุทธิพงศ์
Advisors: ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chayut.P@chula.ac.th,chayut.p@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาและสภาพการรับรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ระดับห้องเรียน 2) วิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคในการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ระดับห้องเรียนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละระดับ และผลกระทบที่มีต่อการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษา และ 3) เสนอแนวทางเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาจากระดับชาติสู่ห้องเรียน โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบาย เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สถานศึกษา และห้องเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาประเมินตนเองว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาสูงที่สุด (M = 4.50) และมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาสูงที่สุด (M = 3.65) รองลงมาคือศึกษานิเทศก์และครูตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ ความพร้อมของผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ งบประมาณที่เพียงพอ การมีพี่เลี้ยงสะเต็มศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ความชัดเจนและคงเส้นคงวาของนโยบาย และการให้ความร่วมมือของทุกฝ่าย การขาดแคลนหรือการละเลยปัจจัยข้างต้นนี้กลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษา ผลการวิจัยทั้งหมดข้างต้นนำมาสู่แนวทางเชิงนโยบายและปฏิบัติในการขับเคลื่อนนโยบายสะเต็มศึกษาสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ ทั้งยังได้แบ่งข้อเสนอออกเป็นแนวทางสำหรับโรงเรียนศูนย์และโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา และสำหรับโรงเรียนทั่วไปอีกด้วย
Other Abstract: This study aimed to 1) analyze Thailand STEM educators’ understanding and perception in STEM policy delivery from national to classroom levels; 2) investigate success factors and obstacles in the policy delivery; and 3) propose appropriate guidelines for the policy delivery. Both qualitative and quantitative data were collected from stakeholders in the policy level, educational service area level, school level, and classroom level. The data were then analyzed by using descriptive statistics, MANOVA, and content analysis. Key findings were summarized as follows: School administrators reported that they had the highest level of understanding about STEM (M = 4.50) and the highest level of perceptions of STEM policy delivery (M = 3.65), followed by supervisors and teachers. Success factors for STEM policy driven consisted of the readiness stakeholders in all levels, sufficiently budget, effectively core trainer and local trainer, clarity and consistency of policy and the cooperation of all party. The shortage or neglect of factors had become a major obstacle in the policy delivery. All of findings lead to a guideline for STEM policy delivery and a pragmatic approach to the implementation of a comprehensive STEM policy for stakeholders in all levels. Guideline also divided for STEM schools and general schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55706
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.860
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.860
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883373927.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.