Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55715
Title: | การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์สำหรับวัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ ภายใต้จำนวนเหตุการณ์และจำนวนผู้ตรวจที่ต่างกัน:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด |
Other Titles: | COMPARISON OF RELIABILITY OF MODIFIED ESSAY QUESTION TEST FOR MEASURING THE ABILITIES IN USING SCIENTIFIC METHOD IN PHYSICS UNDER DIFFERENT NUMBERS OF EVENT AND RATER: AN APPLICATION OF GENERALIZABILITY THEORY |
Authors: | สุภชิต ผดุงผล |
Advisors: | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน ที่ใช้จำนวนผู้ตรวจที่ต่างกัน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 4 เหตุการณ์ โดยเหตุการณ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 เป็นเนื้อหาเรื่องงานและพลังงาน , โมเมนตัมและการชน , การเคลื่อนที่แบบหมุน และสภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น ตามลำดับ ในแต่ละเหตุการณ์ประกอบด้วย 5 ข้อคำถาม แบบสอบที่พัฒนาขึ้นมีจำนวนข้อคำถามรวมทั้งหมด 20 ข้อคำถาม ข้อคำถามแต่ละเหตุการณ์จะวัดขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยคำถามที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ของทุกเหตุการณ์จะวัดความสามารถในการระบุปัญหา ความสามารถในการตั้งสมมติฐาน ความสามารถในการออกแบบการทดสอบสมมติฐาน ความสามารถในการรวบรวมข้อมูล และความสามารถในการสรุปผล ตามลำดับ แบบสอบทั้ง 4 เหตุการณ์มีความสอดคล้องของข้อคำถามกับสาระการเรียนรู้และจุดประสงค์การเรียนรู้ ข้อคำถามมีค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนกที่เหมาะสม แบบสอบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการตรวจให้คะแนนจากผู้ตรวจคนเดียว และผู้ตรวจจำนวน 2 คน สูง 2. แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ ที่มีค่าความเที่ยงไม่ต่ำกว่า 0.8 สามารถเลือกใช้แบบสอบที่มีจำนวนเหตุการณ์ได้ดังนี้ ค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ พบว่า แบบสอบที่มีจำนวนเหตุการณ์ตั้งแต่ 4 เหตุการณ์ขึ้นไป ภายใต้ผู้ตรวจจำนวน 1 คนจะมีค่าความเที่ยงมีค่าเกิน 0.8 และค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์พบว่า แบบสอบที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการสอบ ที่มีค่าความเที่ยงไม่ต่ำกว่า 0.8 สามารถเลือกใช้แบบสอบที่มีจำนวนเหตุการณ์ตั้งแต่ 7 เหตุการณ์ขึ้นไป ภายใต้ผู้ตรวจจำนวน 2 คน |
Other Abstract: | The purpose of this research were 1) to develop modified essay question test for measuring the abilities in using scientific method in physics and 2) to compare the reliability of the modified essay question test for measuring the abilities in using scientific method in physics under different numbers of event and rater by applying the Generalizability theory. The research findings were as follows: 1. The developed modified essay question test for measuring the abilities in using scientific method in physics comprised of 4 events. Each event 5 questions. There were total 20 questions. The contents of the first, second, third and fourth event were Work and Energy, Momentum and Collision, Rotational motion and Balance and flexibility, respectively Question 1, 2, 3, 4 and 5 of each event measured the ability to identify problems, the ability to hypothesize, the ability to design the experiments to test hypotheses, the ability to gather information. and the ability to draw conclusions, respectively. There were a congruence between the items and the learning contents purposes, The items had appropriate difficulty value and discrimination power. Has the ability to identify candidates. The developed modified essay question test had high intra and inter rater reliability. 2. The essay question test with 4 events or more and 1 rater had the G – coefficient for relative decision of 0.8 or more, whereas the essay question test with 7 events or more and 2 raters had the G – coefficient for absolute decision of 0.8 or more. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55715 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.197 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.197 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883859627.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.