Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55770
Title: ศิลาวรรณาและธรณีเคมีของหินบะซอลต์บริเวณหาดงา เมืองหลวงพระบาง ภาคเหนือของประเทศลาว
Other Titles: Petrography and geochemistry of basalt, Ban Hat Nga, Luang Prabang, Northern Laos PDR
Authors: นิติรัฐ อุตรสินธุ์
Advisors: ปัญญา จารุศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: cpunya@chula.ac.th
Subjects: ศิลาวิทยา -- ลาว
ธรณีเคมี -- ลาว
หินบะซอลท์ -- ลาว
Petrology -- Laos
Geochemistry -- Laos
Basalt -- Laos
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หินบะซอลต์ซึ่งแผ่ปกคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตรในบริเวณในแถบบ้านหาดงา ใกล้ตัวเมืองหลวงพระบาง และทางตอนเหนือของหลวงพระบางตรงบริเวณบ้านห้วยโลประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร ได้ถูกเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษาเนื่องจากโผล่ให้เห็นตามถนนหมายเลข 13 ตลอดเส้นทาง หินบะซอลต์เกิดอยู่ร่วมกับหินปูนยุคเพอร์โมคาร์บอนิเฟอรัส จากการศึกษาภาคสนามพบว่าหินบะซอลต์แสดงโครงสร้างรูปหมอนเป็นแห่งๆและหินบะซอลต์ที่มีโครงสร้างหนา และพบกระจายตัวต่อเนื่องเป็นระยะทางกว่า 17 กิโลเมตร จนถึงบ้านห้วยโล ในการศึกษาได้เก็บตัวอย่างและหินบะซอลต์ที่สดเพื่อนำมาศึกษาศิลาวรรณาและธรณีเคมีจานวน 16 ตัวอย่าง ผลการศึกษาจากศิลาวรรณาสามารถจำแนกหินบะซอลต์ที่มีแร่เด่นคือแพลจีโอเคลส และคไลโนไพร็อกซีนเป็นผลึกดอก และยังมีแร่โอลีวีนในบางตัวอย่าง เนื้อพื้นประกอบด้วยแร่ microlite และ micropyroxene โดยมี texture เป็นแบบ trachytic และ porphyritic texture จากการวิเคราะห์เคมีของหินตัวอย่างได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี X-Ray Fluorescence(XRF) พบว่าส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ชนิด sub-alkaline/tholeiite มีองค์ประกอบออกไซด์ดังนี้ SiO₂ = 41.98-48.91 wt%, MgO = 4.76-11.89 wt% CaO = 3.68-14.38 wt%, K₂O = 0.12-1.94 wt%, Na₂O = 1.62-5.41 wt% และ Ti/V = 20-50 ซึ่งแยกประเภทได้เป็นชนิด basalt, basaltic andesite, andesite และ trachydacite จากข้อมูลของธาตุออกไซด์หลักและธาตุพบน้อยบางตัวทำให้ทราบว่าหินบะซอลต์ในพื้นที่ศึกษาเมื่อพิจารณาจากสภาพการธรณีแปรสัณฐานพบว่าส่วนใหญ่น่าจะมีการเกิดแบบ Mid Oceanic Ridge Basalt (MORB) และแบบ Island Arc Tholeiite (IAT) เล็กน้อย ส่วนผลหาอายุด้วยวิธี Ar-Ar พบว่าหินบะซอลต์บริเวณดังกล่าวแสดงอายุโดยรวม (integrated age) ประมาณช่วงครีเตเชียสตอนต้น (110.11±0.61 ล้านปี) อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาร่วมกับลักษณะธรณีวิทยาพบว่าอายุที่ได้เป็นอายุที่อ่อนกว่าหินในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งอายุที่แท้ของหินบะซอลต์บริเวณดังกล่าวอยู่ในช่วงเพอร์โมไทรแอสซิค (ประมาณ 250 ล้านปี) No information provided
Other Abstract: Ban Hat Nga area, the north of Luang Prabang in Laos PDR is encompassed Permo-Triassic volcanic rocks. The outcrop of volcanic rocks has shown characteristic of pillow structure and massive structure. Field and petrographic studies reveal that volcanic rocks can be phyric basalt. The dominant minerals are plagioclase and clinopyroxene in phenocrysts and olivine. Groundmass included microlite and micropyroxene. Mostly, shows trachytic and porphyritic texture. In geochemistry, The most of basalt from Ban Hat Nga area is sub-alkaline/tholeiite, characterized by SiO₂ = 41.98-48.91 wt%, MgO = 4.76-11.89 wt% CaO = 3.68-14.38 wt%, K₂O = 0.12-1.94 wt%, Na₂O = 1.62-5.41 wt% and Ti/V = 20-50. They may be classified as basalt, basaltic andesite, andesite and trachydacite. In this data show that two main group as MORB and IAT. The Ar-Ar isotopic age indicated that volcanic rock approximately Early Cretaceous (110.11±0.61 Ma). However, age are appreciably younger than others rock near the area, reflecting varying degrees of thermal resetting during the Mesozoic and Cenozoic. True age of basalt in Ban Hat Nga area is Permo-Triassic (approximate 250 Ma).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55770
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitirath_full report.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.