Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55976
Title: | การประยุกต์ใช้ "กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์"และ"ควิกสแกน"เพื่อจัดทำแผนการพัฒนาผู้จัดหา กรณีศึกษาผู้ผลิตรถยนต์ |
Other Titles: | Application of "Analytical hierarchy process" and "Quick scan" techniques for developing suppliers development program : case study of an automotive manufacturer |
Authors: | บุตรี พุทธชน |
Advisors: | สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ พูลพร แสงบางปลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sompong.Si@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ การบริหารงานโลจิสติกส์ การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค Automobile industry Business logistics Physical distribution of goods |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการจัดลำดับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนา ผู้จัดหาชิ้นส่วนของผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่ง โดยกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ที่มีผลงาน ด้านคุณภาพและการจัดส่งไม่ได้ตามมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์ จากการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับ ชั้นเชิงวิเคราะห์ การศึกษาพบว่าข้อพิจารณาในการคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เข้าโครงการควร ประกอบด้วย ความรุนแรงของปัญหาคุณภาพ จำนวนของเสียที่ผู้จัดหาจัดส่ง การจัดส่งถูกต้องและครบถ้วน การจัดส่งตรงเวลา ทัศนคติผู้บริหาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลและทรัพยากร ความสามารถในการถ่ายทอด เทคโนโลยี การปรับปรุงต้นทุนและจำนวนวิศวกร โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับการจัดว่าควรจะได้รับ ปรับปรุงพัฒนาเป็นลำดับแรกนั้น มีผลการทำงานด้านคุณภาพและการจัดส่งต่ำกว่าเป็นหมายที่ผู้ผลิต รถยนต์กำหนดค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันข้อพบเห็นเกี่ยวกับ ทัศนคติผู้บริหาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลและ ทรัพยากร และจำนวนวิศวกร สะท้อนถึงความพร้อมและความตั้งใจที่จะร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนา ต่อจากนั้น การศึกษาได้นำวิธีการ "ควิกสแกน" มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาคุณภาพ และการจัดส่งซึ่ง เกิดขึ้นภายในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งนำเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลการตรวจสอบชี้ให้เห็นว่า ควรมีการถ่ายทอดความรู้และความสามารถของผู้ผลิตรถยนต์ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ควรแก้ไขปัญหาของตนด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน การบริหารความขัดแย้ง ระหว่างหน่วยงาน และการบริหารสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนกำหนดนโยบายการควบคุมเพื่อให้ บุคลากรทุกฝ่ายปฏิบัติตามมาตรฐานและขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the prioritization of automotive parts suppliers for the Supplier Improvement and Development Program of a selected automotive manufacturer. The target suppliers include those whose performances in product quality and delivery have been below the standard set by the automotive manufacture. Using the Analytical Hierarchy Process approach, it is found that the criterion adopted by the manufactruer in selecting suppliers for Program include the severity of the quality problem, the number of defects as delivered by suppliers, the delivery of right product in right quantity, the on-time delivery, the management attitude, the exchange of information and resources, the ability in technology transfer, the cost improvement and the number of engineers. The results show that the supplier than receives the highest ranking for the Program has the product quality and delivery performances well below the automotive manufacture's standards. However, the observations regarding the management attitude, the exchange of information and resources and number of engineers reflect the supplier's readiness and willingness to co-operate in the improvement and development efforts. The study subsequently applies the Quick Scan Method to investigate the root cause of quality and delivery problem across the supply chain of the first-ranked automotive parts supplier. Given the investigation results, the study also proposes a set of recommendations for resolving the problems including the transfer of the manufacturer's technical know-how to the supplier, and that the suppliers should develop incentives to effectively motivate employees, establish system for managing interfunctional conflicts, improve working environment as well as develop controlling policy to ensure that the employees would work in accordance to the established working standards and work procedures. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55976 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1115 |
ISBN: | 9741429525 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1115 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
butri_pu_front.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch1.pdf | 924.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch2.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch3.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch4.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch5.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_ch6.pdf | 734.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
butri_pu_back.pdf | 6.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.