Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56003
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรตามแนวการกระจายอำนาจของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A development of a decentralized organizational structure design model in basic education institutes under the Office of the Basic Education Commission
Authors: เพียงเพ็ญ จิรชัย
Advisors: ปองสิน วิเศษศิริ
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pongsin.V@Chula.ac.th
Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียน -- การบริหาร
โรงเรียน -- การกระจายอำนาจ
โรงเรียน -- การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
School management and organization
Schools -- Decentralization
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การตามแนวการกระจายอำนาจของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดโครงสร้างองค์การตามแนวการกระจายอำนาจของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การตามแนวการกระจายอำนาจของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และ 4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่แบ่งโครงสร้างองค์การออกเป็น 4 กลุ่มงานตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 คือ กลุ่มงานวิชาการ กลุ่มงานบริหารงบประมาณ กลุ่มงานบริหารบุคคล และกลุ่มงานบริหารทั่วไป 2. แนวทางการจัดโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม คือ ควรเป็นรูปแบบที่ยืดหยุ่นตามขนาดของสถานศึกษาโดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการการปฏิบัติงานของกลุ่มงาน การจัดทีมงานที่มีคุณภาพ และเน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งตรงกับลักษณะของรูปแบบโครงสร้างองค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ 3. รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การที่มีความเหมาะสม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ที่มาของรูปแบบ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล แนวคิดและหลักการของรูปแบบ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การ ประกอบด้วย มิติด้านหลักการจัดโครงสร้างและกลไกการขับเคลื่อนการทำงานตามโครงสร้าง มิติด้านภารกิจการบริหารสถานศึกษา และมิติด้านการกำหนดผู้รับมอบอำนาจ 3) วิธีการจัดโครงสร้างองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดโครงสร้าง 4 ขั้นตอน และ 4) การนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย เงื่อนไขและข้อแนะนำสำหรับการนำรูปแบบไปใช้
Other Abstract: The objectives of this research was to develop decentralized model of organizational structure in basic education institutions under the Office of the Basic Education Commission. The research methods comprised of four steps: Step 1: Study organizational structure, problems of organizational structure, and trends in organizing structure according to decentralization of basic educational institutions, Step 2: Generate organizational structure pattern based on decentralization trends, Step 3: Feasibility Study of organizational structure according to decentralization of basic education institutions, and Step 4: Improve and present organizational structure model according to decentralization of basic education institutions. The samples comprised three groups: directors, associate directors, and teachers in basic education institutions. Data collections comprised document analysis, interview, and questionnaire. The data analysis for this study was employing descriptive statistics : frequencies, percentage, mean, and standard deviation. The research findings are summarized as following: 1. The organizational structure in basic education institutions are divided into four work groups based on Education Act B.E. 2542 : Academic administration, Budget management, Personnel management and General management. 2. The suitable form of the organizational structure should be flexible depending on the school sizes and integrate with the performance of each work group, teamwork quality, participation in decision making which is the characteristic of the organizational structure in professional bureaucratic system. 3. The appropriate model of organizational structure comprised 4 parts: 1) The derivation of the model consists of principles and rationales, structure concepts, and structure purposes 2) The components of the model consist of principle on structure organization and mechanism driven performance according to educational institution administration function and determination of appointee aspect 3) Structuring decentralization organization for basic educational institutions consists of four stages, and 4) Structure Implementation consists of conditions and recommendations of structure implementation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56003
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.751
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.751
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peangpen_ji_front.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch1.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch2.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch4.pdf9.36 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch5.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_ch6.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
peangpen_ji_back.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.