Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56234
Title: การผลิตปุ๋ยละลายช้าจากแร่ลีโอนาร์ไดต์ ซีโอไลต์ และฟางข้าว
Other Titles: PRODUCTION OF SLOW RELEASE FERTILIZER FROM LEONARDITE, ZEOLITE AND RICE STRAW
Authors: จิตตรีรา บัวเทศ
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
เรวดี อนุวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Petchporn.C@Chula.ac.th,petchporn.c@gmail.com
rewadee_a@tistr.or.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีการเตรียมปุ๋ยละลายช้าจากแร่ลีโอนาร์ไดต์ ซีโอไลต์ ร่วมกับ ฟางข้าว โดยทำการเตรียมปุ๋ยละลายช้าทั้งหมด 4 สูตร ซึ่งปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 1 มีส่วนประกอบของ แร่ลีโอนาร์ไดต์เพียงอย่างเดียว ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 2 เป็นแร่ลีโอนาร์ไดต์ผสมกับซีโอไลต์ ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 3 เป็นแร่ลีโอนาร์ไดต์ผสมกับฟางข้าว และปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 4 มีส่วนประกอบครบทั้ง 3 ชนิด คือ แร่ลีโอนาร์ไดต์ ซีโอไลต์ และฟางข้าว จากนั้นจะทำการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของปุ๋ยตัวอย่างที่เตรียมได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และศึกษาการปลดปล่อยธาตุอาหารจากปุ๋ยตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ปุ๋ยตัวอย่างที่ไม่มีซีโอไลต์เป็นส่วนประกอบ (ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 1 และปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 3) จะมีอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโพแทสเซียม ต่ำกว่าปุ๋ยตัวอย่างที่มีซีโอไลต์เป็นส่วนประกอบ (ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 2 และปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 4) แต่อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ยังสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยละลายช้าทางการค้า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาที่พบว่า ปุ๋ยตัวอย่างที่ไม่มีซีโอไลต์เป็นส่วนประกอบจะพบรูพรุนค่อนข้างน้อยและรูพรุนมีขนาดเล็กกว่า ปุ๋ยตัวอย่างที่มีซีโอไลต์เป็นส่วนประกอบ ขณะที่ปุ๋ยละลายช้าทางการค้ามีพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอและไม่พบรูพรุนบนพื้นผิว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากทำการพิจารณาเกณฑ์ของหน่วยงานกำหนดมาตรฐานแห่งยุโรปที่กำหนดว่าปุ๋ยละลายช้าจะต้องมีการปลดปล่อยธาตุอาหารไม่เกินร้อยละ 15 ของธาตุอาหารทั้งหมด ในเวลา 24 ชั่วโมง จะพบว่า ปุ๋ยตัวอย่างทุกสูตรยังมีการปลดปล่อยธาตุอาหารอยู่ในเกณฑ์ของหน่วยงานกำหนดมาตรฐานแห่งยุโรป โดยที่เวลา 24 ชั่วโมง ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 1 ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 2 ปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 3 และปุ๋ยตัวอย่างสูตรที่ 4 มีร้อยละการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนเฉลี่ยทั้ง 3 พีเอช เท่ากับ 0.1551, 0.2090, 0.1675 และ 0.2625 ตามลำดับ และมีร้อยละการปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสเฉลี่ยทั้ง 3 พีเอช เท่ากับ 0.2847, 0.2511, 0.2110 และ 0.2536 ตามลำดับ สำหรับร้อยละการปลดปล่อยธาตุโพแทสเซียมเฉลี่ยทั้ง 3 พีเอช มีค่าเท่ากับ 0.5859, 0.7451, 0.5169 และ 0.6481 ตามลำดับ
Other Abstract: This research aims to study the feasibility to produce slow release fertilizer from leonardite, zeolite and rice straw. Four formulations of slow release fertilizer were prepared by using different compositions of leonardite, leonardite and zeolite, leonardite and rice straw and leonardite, zeolite and rice straw. Morphologies of the sample surfaces were revealed by Scanning Electron Microscopy (SEM) and the NPK nutrients release contents were also determined. The results show that the slow release fertilizer formulations without zeolite (formulations 1 and 3) have NPK nutrient release rates slower than those with zeolite (formulations 2 and 4). However, the NPK nutrient release rates were still high comparing to the commercial slow release fertilizer. In terms of morphologies, the slow release fertilizer formulations without zeolite (formulations 1 and 3) had less number of pores and smaller pores (31-188 µm) while the formulations with zeolite (formulations 2 and 4) possessed pores of about 31-750 µm in size. With zeolite, the surfaces were rougher. The commercial slow release fertilizer has rather smooth surface without large pores on the surface. European Standardization Committee specified that the slow release fertilizer should release nutrients no more than 15 % within 24 hrs at a temperature of 25 ºC. It can be seen that all formulations meet the criteria. The average nitrogen release contents of formulation 1, 2, 3 and 4 were 0.1551, 0.2090, 0.1675 and 0.2625 %, respectively. The average phosphorus release contents of formulation 1, 2, 3 and 4 were 0.2847, 0.2511, 0.2110 and 0.2536 %, respectively. The average potassium release contents of formulation 1, 2, 3 and 4 were 0.5859, 0.7451, 0.5169 and 0.6481 %, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56234
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570142821.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.