Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56265
Title: Effect of Gold Nanoparticle size on TLR2/4 signaling in Hek293 cell line
Other Titles: การศึกษาผลกระทบของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรที่ขนาดต่างกันต่อการส่งสัญญาณผ่านโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 2 และ 4 ในเซลล์ ไตของตัวอ่อนมนุษย์
Authors: Chawikan Boonwong
Advisors: Amornpun Sereemaspun
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Amornpun.S@Chula.ac.th,amornpun.s@gmail.com,amornpun.s@gmail.com
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Gold nanoparticles (AuNPs) have tried to apply in many fields such as biological research, cosmetic, and medicine as clinical diagnostics because it has been reported to be safe for various applications and decrease severity of inflammation. Although the several advantages of AuNPs have been reported, but they still have found to cause in many cytotoxicity tests. However, mechanisms inside the cells requiring deeper investigation. Toll-like receptors are one of the key factors that play an important role in the innate immunity, which provide immediate responses to invading pathogens. The main aim of this study was to examine the effect of AuNPs on inflammatory response via TLR2 and TLR4. Using hTLR2 and hTLR4-Hek 293 cell lines, treatment with various size of citrate-stabilized AuNPs for 24 h. In our findings, small size of AuNPs has been shown to be able to up-regulate TLR2/4 gene expression, while 20 nm AuNPs do not change the expression level of TLR2/4 genes. Next, we investigated down-stream of TLRs, NF-kB activation and pro-inflammatory cytokine have been studied. Inductions of NF-kB activity and expression of pro-inflammatory were observed in 10 nm AuNPs treated cells. However, the level of both NF-kB activity and expression of pro-inflammatory is reduced after exposure with 20 nm AuNPs. Ours result conclude that TLR2/4-mediated cytotoxicity of AuNPs by size dependent pattern. These findings suggest that AuNPs may have important guideline the treatment of inflammations application.
Other Abstract: ในปัจจุบันอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆได้หลากหลายด้าน เช่น ทางด้านงานวิจัย เครื่องสำอาง และ ในทางการแพทย์ เนื่องจากอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรถูกรายงานว่ามีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และรวมถึงช่วยลดการอักเสบได้ ถึงแม้ว่าจะมีหลายรายงานที่กล่าวถึงประโยชน์ของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร แต่ก็ยังคงมีการกล่าวถึงความเป็นพิษของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรเช่นกัน ซึ่งกลไกการทำงานต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิตของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรนั้นยังคงต้องการศึกษาเพิ่มเติม นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังสนใจ โทลล์ไลค์ รีเซปเตอร์ หรือโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ เป็นโปรตีนตัวรับชนิดหนึ่งที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน โดยทำหน้าที่จับกับสิ่งแปลกปลอมที่บุกรุกเข้าภายในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันหลั่งสารออกมา เพื่อใช้ในการทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อต้องการศึกษา ผลของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านทาง โปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 2 และโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 4 ในเซลล์ไตของตัวอ่อนมนุษย์ ที่มีการเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 2 และ 4 โดยอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรที่มีขนาดที่แตกต่างกันได้ถูกนำมาทดสอบในงานวิจัยนี้ จากการศึกษา พบว่าอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรขนาด 10 นาโนเมตรนั้นสามารถกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 2 และ 4 เพิ่มมากขึ้น รวมถึงส่งผลต่อกระบวนการต่างๆหลังกระตุ้นโปรตีนตัวรับชนิดโทลล์ คือ อนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรเพิ่มการแสดงออกของนิวเคลียร์ แฟคเตอร์แคปปาบี และยังส่งผลต่อการเพิ่มการแสดงออกของไซโตไคน์ชนิดกระตุ้นให้เกิดการอักเสบอีกด้วย ในทางกลับกันอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรขนาด 20 นาโนเมตร ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ 2 และ 4 แต่พบว่าสามารถช่วยลดการแสดงออกของ นิวเคลียร์ แฟคเตอร์แคปปาบี และไซโตไคน์ชนิดกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านโปรตีนตัวรับชนิดเสมือนโทลล์ ของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร ซึ่งทำให้เรามีความรู้และสามารถนำอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56265
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574121330.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.