Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56364
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงานและความตั้งใจจะลาออก : การวิเคราะห์อิทธิพลกำกับและอิทธิพลส่งผ่าน
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG ORGANIZATIONAL CULTURE, JOB SATISFACTION AND INTENTION TO LEAVE: MODERATION AND MEDIATION ANALYSES
Authors: จุไรลักษณ์ ตั้งสกุลนุรักษ์
ชนม์ชนก อินทร์เกลี้ยง
พิชญา ขันติพงษ์
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Prapimpa.J@chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมองค์การ
การลาออก
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
จิตวิทยาองค์การ
Corporate culture
Employees -- Resignation
Organizational behavior
Work -- Psychological aspects
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงานและความตั้งใจจะลาออกในองค์การไทยที่มาจากประเภทองค์การอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยศึกษาอิทธิพลกำกับของวัฒนธรรมองค์การและอิทธิพลส่งผ่านของความพึงพอใจในงาน จากการเก็บกลุ่มตัวอย่างพนักงานในองค์การไทยจำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดวัฒนธรรมองค์การ มาตรวัดความพึงพอใจในงาน และมาตรวัดความตั้งใจจะลาออกจากงาน ผลการวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่าน (Mediation Analysis) โดยโปรแกรม Process พบว่า ความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การทั้ง 4 รูปแบบ (วัฒนธรรมแบบเครือญาติ แบบความคิดสร้างสรรค์ แบบลำดับขั้น และแบบมุ่งผลสำเร็จ) และความตั้งใจจะลาออก โดยวัฒนธรรมองค์การทั้ง 4 รูปแบบ มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในประเทศทางตะวันออก เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่มีกรอบความคิดของวัฒนธรรมทางด้านระยะห่างระหว่างอำนาจ (Power Distance) และด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (Uncertainty Avoidance) สูง อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ถดถอยอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ (Moderated Regression Analysis) โดยโปรแกรม Process กลับไม่พบว่า วัฒนธรรมในองค์การทั้ง 4 รูปแบบ กำกับความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานและความตั้งใจจะลาออก แต่พบว่ามีเพียงวัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติที่มีอิทธิพลหลักต่อความตั้งใจจะลาออก ซึ่งสอดคล้องกับสังคมไทยที่มีลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและความสัมพันธ์แบบครอบครัว
Other Abstract: The purpose of the current study was to examine the relationships among organizational culture, job satisfaction and intention to leave with the moderation effect of organizational culture and the mediating effect of job satisfaction in Thai organizations from a wide range of industries. Data were collected from 197 employees of organizations in Thailand. Mediation analysis results using Process program revealed that job satisfaction was a significant mediator of the relationships between the four organizational culture types (Clan, Adhocracy, Hierarchy and Market) and intention to leave. Consistent with the prior research in the Eastern countries, the four organizational culture types had positive effects on job satisfaction , due to perhaps Thai society classified as a high power distance and uncertainly avoidance cultures. However, Moderated regression analysis results showed no significant moderating effects of organizational culture on the relationship between the job satisfaction and intention to leave. Only clan culture had a main effect on the intention to leave, which is in line with Thai values of supporting one another and family-like relationship.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56364
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jurailak_ta.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.