Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56381
Title: การพัฒนาอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวันสำหรับหญิงวัยทำงาน
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF SNACK BAR FROMJERUSALEM ARTICHOKE FOR WORKING WOMEN
Authors: ณัติพร อรธนาลัย
Advisors: วิชิต คนึงสุขเกษม
สุเทพ กลชาญวิทย์
สิรี ชัยเสรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Vijit.Ka@Chula.ac.th,acasi2003@yahoo.com
Sutep.G@Chula.ac.th,gsutep@hotmail.com
siree.c@ku.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวัน และเพื่อศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ต่อการเคลื่อนผ่านของอาหารในกระเพาะอาหาร ความอิ่ม และการเคลื่อนผ่านของอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ในหญิงวัยทำงาน การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research design) มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวัน ด้วยการศึกษาสัดส่วนและปริมาณของวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงทำการประเมินความชอบของหญิงวัยทำงานที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบให้คะแนนความชอบ (9-point hedonic scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ถ้าพบนัยสำคัญทางสถิติจะคำนวณค่า Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) เพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการเคลื่อนผ่านของอาหารในกระเพาะอาหาร ความอิ่ม และการเคลื่อนผ่านของอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารด้วยวิธีการถ่ายภาพทางรังสีนิวเคลียร์ (Scintigraphy) ประเมินความอิ่มด้วยแบบประเมินระดับความอิ่ม (100 mm Visual Analogue Scales [VAS]) และทำการตรวจวัดการเคลื่อนผ่านของอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ (Colon transit test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองค่าที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน (Independent-samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า อาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวันที่พัฒนาได้เป็นที่ยอมรับของหญิงวัยทำงานทุกคน และมีความหนาแน่นของพลังงานต่ำ คือ 2.61 แคลอรี่/กรัม อาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวันที่พัฒนาได้ สามารถชะลอการเคลื่อนผ่านของอาหารผ่านกระเพาะอาหารได้ และมีระดับความอิ่ม ณ นาทีที่ 61, 91, 121, 181 และ 241 ที่มากกว่าอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การเคลื่อนผ่านของอุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ของอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากแก่นตะวันและอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งควบคุม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The aim of this study was to develop snack bar from Jerusalem artichoke and to study effects of snack bar from Jerusalem artichoke on gastric emptying, satiety, and colon transit in working women. This study was an experimental research design and had 2 phases. Phase 1 was a development of snack bar from Jerusalem artichoke. The snack bar was developed by studying proportion and amount of materials that were appropriate to snack bar production. Afterward, working women performed preference tests by using 9-point hedonic scale. Percent, mean, standard deviation, and one-way ANOVA were employed to analyze the data at the statistical significance at the .05 level. If the statistical significance has been found, Duncan’s New Multiple Range Test (DMRT) were performed to analyze the data. Phase 2 was to study effects of snack bar from Jerusalem artichoke on gastric emptying, satiety, and colon transit. Gastric emptying was analyzed by gastric emptying scintigraphy. Satiety was analyzed by using 100 mm Visual Analogue Scales [VAS]. Colon transit was analyzed by colon transit test. Percent, mean, standard deviation, and Independent-sample t-test were employed to analyze the data at the statistical significance at the .05 level. Pearson’s Correlation Coefficient was used to find the correlation. The results showed that; A developed snack bar from Jerusalem artichoke was accepted by all working women and its energy density was low (2.61 calories/gram). A developed snack bar from Jerusalem artichoke could prolong gastric emptying and at 61, 91, 121, 181, and 241 minutes, satiety of snack bar from Jerusalem artichoke was significantly more than satiety of control snack bar (p<.05). There was no statistically significant difference in colon transit test between snack bar from Jerusalem artichoke and control snack bar (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56381
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5378953739.pdf17.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.