Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56383
Title: การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทย
Other Titles: DEVELOPMENT OF A SUSTAINABLE GREEN UNIVERSITY MODEL FOR THAI HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS
Authors: โมทนา สิทธิพิทักษ์
Advisors: สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichan.S@Chula.ac.th,sirichant@gmail.com
Pansak.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวคิดและแนวปฎิบัติของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน 3) พัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทย และ 4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างคือ คือ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศจำนวน 7 แห่ง มหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศไทยจำนวน 8 แห่ง ผู้บริหารระดับสูงและผู้อำนวยการศูนย์และหัวหน้าหน่วยงานจำนวน 24 คน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบรูปแบบจำนวน 12 คน ผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีจำนวน 6 คน นิสิตนักศึกษา จำนวน 785 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดและแนวปฎิบัติของมหาวิทยาลัยสีเขียวในประเทศและต่างประเทศ มีดังนี้ 1) การสร้างความเป็นผู้นำและการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ 2) ความร่วมมือกันของบุคลากรทุกระดับรวมถึงนิสิตนักศึกษา 3) การบริหารจัดการทรัพยากรในมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์ 4) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพและอาคารให้มีประสิทธิภาพ 5) ประกาศนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวโดยการสนับสนุนจากคณะผู้บริหาร 6) การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนิสิตนักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ และ 7) การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปบริการวิชาการให้กับชุมชนสังคม 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาไทย มี 4 ปัจจัย 1) การกําหนดนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน ครอบคลุมประเด็นด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมและการจัดการศึกษา การวิจัย 2) การมีส่วนร่วมของทุกคนในประชาคม 3) การกําหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย การติดตามประเมินผลการดําเนินงาน 4) การเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย 3. รูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวแบบยั่งยืน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักคือ 1) นโยบายของมหาวิทยาลัย 2) โครงสร้างทางสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และ 3) การมีส่วนร่วมของทุกคน 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการเกี่ยวกับสีเขียวแบบยั่งยืนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การประกาศนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน จัดตั้งหน่วยงานเพื่อความยั่งยืน และเน้นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นองค์ความรู้หลักในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน
Other Abstract: The purposes of the research were 1) to study the current situation and to analyze the concept and practice of the international universities in the green university in Thailand and abroad; 2) to analyze the key success factor for the development of sustainable university in Thailand; 3) to develop a model of sustainable green university for Thai higher education institutions; and 4) present the proposed policy for Thai university. The sample groups included: 1) Seven world leading international universities and eight Thai universities; 2) Twenty-four vice presidents, administrators, and officers in Thai universities; 3) Fourteen experts and professionals for formulating the model; 4) Eight university administrators and experts who evaluated the preliminary model and; 5) Six of vice presidents and assist to the presidents in the university; 6) Stratified random sampling of 785 students. Research instruments used were survey forms, interviews, document analysis forms, and questionnaires. The key findings were as follows: 1. The concept and practice of sustainable green university in Thailand and abroad were 1) to develop leadership role in sustainability practice in the university and world reputation; 2) to engage in every levels of stakeholders; 3) to maximize resources management in the universities; 4) to manage physical infrastructure and building operation; 5) to announce university policy from the administration board; 6) to create environmental consciousness to students and officers; and 7) to transfer knowledge through community service. 2. Key success factors for sustainable green university in Thailand were consisted of 1) sustainable green university policy which including the development of physical infrastructures, environmental consciousness of all stakeholders, and educational activities and research; 2) engagement of all stakeholders; 3) setting up key performance indicators, target, monitoring and evaluation of the operations 4) and learning for social change in all sectors of the university. 3. The development of a model for sustainable green university is consisted of 3 main elements: 1) university policy 2) physical environment and campus operation and 3) stakeholder engagement. 4 The proposed policy for King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang was suggested that the university should focus on sustainable green campus policy; establishing the sustainability unit; and emphasizing on science and technology literacy as a main knowledge in the development of university towards sustainability.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56383
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384245027.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.