Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56513
Title: การปรับบทบาทและปัจจัยการอยู่รอดของร้านค้าโชห่วยเมื่อมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองสกลนคร
Other Titles: Role adjustment and survival factors of community groceries against super stores : a case study of Sakonnakhon Municipality
Authors: เรวดี จักรเสน
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: suwattana.t@chula.ac.th
Subjects: ร้านขายของชำ -- แง่เศรษฐกิจ
ร้านขายของชำ -- แง่สังคม
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ -- แง่เศรษฐกิจ
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ -- แง่สังคม
การพัฒนาเศรษฐกิจ -- แง่สังคม
Grocery trade -- Economic aspects
Grocery trade -- Social aspects
Hypermarkets -- Economic aspects
Hypermarkets -- Social aspects
Economic development -- Social aspects
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องการปรับบทบาทและปัจจัยการอยู่รอดของร้านค้าโชห่วยเมื่อมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองสกลนคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการศึกษาเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด จากกลุ่มลูกค้าร้านค้าโชห่วย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากร้านค้าโชห่วยตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use) 4 ประเภท โดยแบ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเจ้าของร้านค้าโชห่วย 5 คน และลูกค้าร้านค้าโชห่วย 15 คน รวมจำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทในอดีตและปัจจุบันของร้านค้าโชห่วย ศึกษาการปรับบทบาทของร้านค้าโชห่วยเมื่อมีห้างสรรพสินค้า ศึกษาปัจจัยการอยู่รอดของร้านค้าโชห่วย และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาร้านค้าโชห่วยเพื่อให้คงบทบาทในวิถีชีวิตของชุมชนที่เปลี่ยนไป ผลการศึกษาพบว่าบทบาทในอดีตของร้านค้าโชห่วยมีความสำคัญต่อชุมชนทั้งในด้านของเศรษฐกิจและสังคม โดยบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่ถือเป็นบทบาทหน้าที่หลักคือ เป็นสถานที่ในการซื้อขายสินค้าเพื่อการยังชีพของผู้คนในชุมชนก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราในระบบ และในส่วนของบทบาทหน้าที่ทางด้านสังคมคือ เดิมร้านค้าโชห่วยจะเป็นศูนย์กลางของชุมชน ทั้งในด้านการเป็นสถานที่พบปะ เป็นแหล่งเกื้อกูลและให้ความช่วยเหลือต่อชุมชน แต่ในปัจจุบันบทบาทหน้าที่ของร้านค้าโชห่วยได้ลดบทบาทลงไปในด้านของเศรษฐกิจที่เดิมเคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าก็กลายเป็นสถานที่ขายสินค้ายามฉุกเฉินและสินค้าสะดวกซื้อเท่านั้น ส่วนระบบการซื้อขายแบบสินเชื่อค่อยๆ ลดบทบาทลงไปพร้อมกับการเปิดให้บริการของห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตามการเปิดให้บริการของห้างสรรพสินค้าไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลให้ร้านค้าโชห่วยมีการเปลี่ยนแปลงบทบาท แต่ยังมีปัจจัยที่มาจากร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ปัจจัยที่มาจากร้านค้าโชห่วยด้วยกันเอง และปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ งานด้านผังเมือง สภาวะเศรษฐกิจและลักษณะทางธรรมชาติ ซึ่งจากปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้ส่งผลให้ร้านค้าโชห่วยเกิดการเปลี่ยนแปลง 5 ด้านด้วยกันคือ 1) ด้านกายภาพ 2) ด้านสินค้า 3) การบริการ 4) ด้านเศรษฐกิจ และ 5) ด้านสังคม และจากการเปลี่ยนแปลงของร้าน 5 ด้านเพื่อความอยู่รอดแล้วยังมีอีก 12 ปัจจัยที่ทำให้ร้านค้าโชห่วยอยู่รอดได้คือ 1) ร้านค้าโชห่วยมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา 2) ห้างสรรพสินค้าที่เปิดให้บริการจะต้องไม่ใช่ขนาดใหญ่ 3) สถานที่ตั้งของร้านค้าโชห่วย 4) ความเป็นกันเอง 5) ความรวดเร็วในการบริการ 6) ความแตกต่างด้านสินค้า 7) มีบริการสินค้าแบบแบ่งขาย 8) สินค้าตรงต่อความต้องการของลูกค้า 9) เจ้าของร้านมีอาชีพเสริม 10 ) การเปลี่ยนแปลงของเมืองไม่รวดเร็วนัก 11) ความสัมพันธ์ระหว่างร้าน/ลูกค้าและชุมชน และ 12) การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของเจ้าของร้านค้าโชห่วย จากองค์ประกอบเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้ร้านค้าโชห่วยคงบทบาทในวิถีชีวิตของชุมชนได้ในสภาวะปัจจุบัน
Other Abstract: This qualitative research was conducted along with the quantitative data collection. In terms of quantitative study, 100 questionnaires were given to community groceries while the qualitative data collection was done through observation with no participation and in-depth interviews with community grocery owners based on 4 types of land use. The subjects were divided into 2 groups: 5 community grocery owners and 15 customers of community groceries, totaling 20. The main purposes of this study were to investigate the past and the present roles of community groceries, the role adjustment of community groceries against super stores and the survival factors of community groceries. In addition, the study suggested ways to improve these groceries so that they can keep their role in the changing community. It is found that, in the past, community groceries played important economic and social roles in the community. Their economic role was considered the more important in that they sold consumable goods for community members; as a result, there was a continuous flow of cash. As for their social role, they served as community centers-a meeting place and a place to provide support and aid for the community. However, at present, the opening of super stores undermines the groceries' economic role. They used to be a trading center but now they sell goods which are in immediate need and convenient goods. Their role in providing credit facilities has been lessened due to the establishment of super stores. The factors affecting a change in the groceries' roles resulted from not only the services provided by super stores but also those provided by modern convenient stores. Furthermore, the groceries themselves caused this change, including other factors such as globalization, city planning, economic conditions and natural features. The four above caused changes to the groceries in the following five aspects: 1) physical aspect, 2) goods, 3) services, 4) economy and 5) society. To survive, the groceries had to adopt other 12 factors. The factors included the fact that 1) the groceries had to constantly adjust themselves, 2) the stores nearby must not be big, 3) the groceries had to be located in a suitable area, 4) the groceries' owners had to be friendly, 5) the groceries had to provide speedy services, 6) the groceries offered different types of goods from those offered by super stores, 7) customers did not have to buy the whole pack of certain goods at the groceries, 8) the goods at the groceries had to meet customers' needs, 9) the groceries' owners had to have another occupation; as a result, the earnings from that occupation could supplement those from selling goods at the groceries, 10) the pace of city's changes had to be slow, 11) the relationship between the groceries/customers and the community had to be good and 12) the groceries' owners had to lead a self-sufficiency lifestyle. The aforementioned factors have helped the groceries maintain their roles in their community up to now.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56513
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1119
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1119
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rewadee_Ch.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.