Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56514
Title: การศึกษาระดับความสัมพันธ์ของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
Other Titles: Study of supply chain relationship levle in the tourism industry
Authors: วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การบริหารงานโลจิสติกส์
กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ
ความพอใจของผู้บริโภค
Tourism
Business logistics
Strategic alliances (Business)
Consumer satisfaction
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงระดับความสัมพันธ์ของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตเมืองพัทยา 2) เพื่อทราบถึงความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อระดับความสัมพันธ์ ในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมี 6 ธุรกิจ ได้แก่ (1) ธุรกิจโรงแรมที่พัก (2) ธุรกิจการขนส่งเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว (3) ธุรกิจนำเที่ยว (4) ธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร (5) ธุรกิจสถานบันเทิง (6) ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก โดยการวิจัยใช้การแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล 2 ชุดคือ 1) แบบสอบถามที่สอบถามโรงแรมเกี่ยวกับระดับความสัมพันธ์ระหว่างโรงแรม และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2) แบบสอบถามผู้มาใช้บริการโรงแรมเกี่ยวกับความพึงพอใจ ต่อความสะดวกในการติดต่อใช้บริการธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการมีความพึงพอใจต่อความสะดวกในการติดต่อขอใช้บริการธุรกิจอื่น ในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์มากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อความสะดวกในการติดต่อขอใช้บริการธุรกิจอื่น ในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ น้อยที่สุด ในขณะที่ระดับความสัมพันธ์ของโรงแรมและธุรกิจอื่น ในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้น ธุรกิจการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมีระดับความสัมพันธ์กับโรงแรมมากที่สุดในระดับ 3 คือ มีที่อยู่ เบอร์ติดต่อ สามารถสำรองการใช้บริการได้ตลอดเวลาและร่วมมือกันทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในโรงแรม และระดับความสัมพันธ์ของโรงแรมและธุรกิจอื่นในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ มีความสัมพันธ์น้อยที่สุดคือระดับ 1 เพียงแค่ทราบที่อยู่และเบอร์ติดต่อ เนื่องจากธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคารนั้นเป็นคู่แข่งขันกันกับภัตตาคารภายในโรงแรม จึงมีความสัมพันธ์และความร่วมมือน้อยที่สุด ธุรกิจในโซ่อุปทานรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวควรมีความร่วมมือกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและควรร่วมมือกันใช้ข้อมูลข่าวสารชุดเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการบริการ และลดระยะเวลาการติดต่อของนักท่องเที่ยวให้มีขั้นตอนที่ลดลงและไม่ซับซ้อน
Other Abstract: This thesis is a study of supply chain relationship level in the tourism industry that has the objectives to 1) study the supply chain relationship level in the tourism industry in Pattaya area 2) know the tourists' opinion toward the supply chain relationship level in the tourism industry consisting of 6 businesses which are (1) hotel (2) touring transportation (3) traveling agency (4) food shop and restaurant (5) entertainment places (6) souvenir shop by using 2 types of questionnaires 1) the questionnaire for collecting the data of relationship level between the hotel and the other businesses concerning tourism industry 2) the questionnaire for collecting the data of the customers using the hotel services upon their satisfaction toward the convenience in contacting to have the services from the other businesses corning tourism industry. It was found that the tourists who used their services had the most satisfaction toward the convenience in contacting to have the services from the other businesses in supply chain of tourism industry in business of touring and tour guide services, satisfaction toward the convenience in using other businesses in supply chain of tourism industry and the least satisfaction toward the business of food shop, restaurant, coffee shop whereas the relationship level of hotel and other business in supply chain of tourism industry; food shop, restaurant and coffee shop had the least relationship at the level of 1 just only for knowing the address and contacting number due to the business of food shop, restaurant and coffee shop are competitors to the restaurant in the hotel which they had therefore the least relationship and cooperation. Business of supply chain in tourism industry should have the cooperation, faithfulness and sharing the same information responding to the tourist's need of expeditious services and cost saving in servicing and shortening time length of contact service of tourists.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56514
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1998
ISBN: 9741427425
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1998
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
weerawit_le_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_ch1.pdf725.64 kBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_ch2.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_ch3.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_ch4.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_ch5.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
weerawit_le_back.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.