Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56725
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | - |
dc.contributor.author | จิรนันท์ อารีรอบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2018-01-05T03:46:37Z | - |
dc.date.available | 2018-01-05T03:46:37Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56725 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประเมินคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3) เพื่อศึกษาระบบกลไกการดำเนินงาน ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 175 เขต ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร และครู จำนวนรวม 1,157 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรอิสระภายในแฝง 4 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านลักษณะของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจัยด้านลักษณะบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และปัจจัยด้านนโยบายและการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแปรตามภายในแฝง 1 ตัวแปรคือ ประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแปรแฝงดังกล่าววัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ รวมทั้งหมด 21 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถามมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ 0.82-0.93 วิเคราะห์ขัอมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านนโยบายและการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งพบว่า ปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านลักษณะของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัจจัยด้านลักษณะบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และปัจจัยด้านนโยบายและการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งปัจจัยด้านนโยบายและการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านลักษณะสภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2. โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-แควร์ (Chi-square) เท่ากับ 4.53 p=1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 48 ค่า GFI=1.00 ค่า AGFI=.99 และค่า RMR=0.001 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ร้อยละ 38 3. ระบบกลไกในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ จัดทำแผนปฏิบัติการและเขียนโครงการในการตรวจสอบสถานศึกษา ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประสานงานกับสถานศึกษาเพื่อให้คำแนะนำ และความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were 1) to develop a causal model of effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area 2) to examine the goodness of fit of a causal model of effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area 3) to study a system of management, problems and solution of development and enrichment the quality assurance process of the office education service area. The research population and samples consisted of 175 areas. The research responders were supervisors, school directors and teachers. Variables consisted of four endegenous independence variables: factor of the office education service area characteristics, factor of environmental characteristics, factor of employee characteristics and factor of managerial policies and practices; one endogenous latent variable was effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area. These latent varibles were measured by 21 observed variables. The research data were collected by questionnaires and interview. The questionnaires having reliability for each variable ranging from 0.82-0.93 and analysed by using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, validity structural analysis, LISREL analysis and analysed quality data by using synthesis content method. The major findings were as follows: 1. The causal model of effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area results were factor of managerial policies and practices have indirect effect on effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area and factor of environmental characteristics of the office education service area have maximum total effect on effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area otherwise factor of environmental characteristics have direct effect on factor of employee characteristics, natural characteristics of the office and factor of managerial policies and practices. And factor of managerial policies and practices have direct effect on of environmental characteristics. 2. The causal model was and valid and fit to the empiriical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 4.53 p = 1.00, df=48, GFI=1.00, AGFI = .99, and RMR=0.001. The model accounted for 38% of variance in effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office education service area. 3. A system of management of development and enrichment the quality assurance process of the office education service area were doing action plans and examine school projects, doing as action plans for goals achivement, having guidebooks for quality assurance process in school, coordinated with schools for giving advise and knowledge about the quality assurance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.540 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ประกันคุณภาพ | en_US |
dc.subject | การศึกษา -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย | en_US |
dc.subject | Quality assurance | en_US |
dc.subject | Education -- Quality control -- Thailand | en_US |
dc.title | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Development of a causal model of effectiveness to develop and enrich the quality assurance process of the office of education service area | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.540 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chiranun_ar_front.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_ch1.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_ch2.pdf | 13.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_ch3.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_ch4.pdf | 5.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_ch5.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chiranun_ar_back.pdf | 7.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.