Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56740
Title: การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Other Titles: Development of a model and strategies to promote Thailand as a regional education hub in South-East Asia
Authors: กนิษฐา นาวารัตน์
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษานานาชาติ -- ไทย
การศึกษา -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
International education -- Thailand
Education -- International cooperation
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการศึกษานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ 2) วิเคราะห์บริบทของการศึกษานานาชาติในประเทศไทย ศักยภาพของประเทศไทย และบทบาทความเป็นผู้นำในการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3) พัฒนารูปแบบและกลยุทธ์ในการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสำรวจไปได้แก่ สถานทูตมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขมร พม่า ลาว เวียดนาม บรูไน และฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย เพื่อ สำรวจรูปแบบการส่งเสริมการศึกษานานาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 12 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน หน่วยงานของรัฐและองค์กรต่างประเทศ การส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารหลักสูตรนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 63 สถาบัน โดยจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบรูปแบบและกลยุทธ์เพื่อความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการเก็บข้อมูลดังกล่าวและประมวลผลจากการวิเคราะห์ โอกาส-อุปสรรค จุดแข็ง-จุดอ่อน การใช้แรงผลักดันทั้ง 5 ของ Porter ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขัน และการวิเคราะห์ศักยภาพโดยใช้ Diamond Model ของ Porter ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion / GMS) ภายใน 5 ปี พันธกิจที่สำคัญ ได้แก่การสร้างหลักสูตรนานาชาติให้ได้มาตรฐานสากล การสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมในภูมิภาค การสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ และการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชาติ โดยเป้าหมายหลักได้แก่ การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีสมรรถภาพสากลและการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ องค์ประกอบของรูปแบบและกลยุทธ์ การส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ (P.I.L.LA.R. Model) ได้แก่ นโยบาย ระบบสารสนเทศ ผู้มีบทบาทหลัก กฎหมายและระเบียบ การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร โดยกลยุทธ์แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์กร แผน โครงการ และกลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติ กลยุทธ์เพื่อนำไปปฏิบัติมี 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ระดับรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งควรปรับโยบายและทิศทางให้ชัดเจน และให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยไทยทั้งความตกลงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ระดับสถาบันอุดมศึกษา การรวมตัวกันสร้างความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย (Consortium of International Education Thailand: COET) เพื่อผลักดันกิจกรรมวิชาการต่างๆ และระดับหน่วยงานส่งเสริมการศึกษานานาชาติ (Study in Thailand Agency: SITA) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ให้บริการนักศึกษาต่างชาติอย่างครบวงจร (One-stop service) และประสานงานการดำเนินการและกิจกรรมของ COET ตลอดจนทำการประชาสัมพันธ์และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ
Other Abstract: The purposes of this research are 1) to analyze the models used in countries in Southeast Asia, especially in Malaysia and Singapore to promote international education 2) to analyze the context of international education in Thailand and its potentials and leading roles in becoming a Regional Education Hub in Southeast Asia 3) to develop a model and strategies for Thailand. Data was collected by sending out survey forms, interviewing and sending out questionnaires. Nine embassies based in Bangkok, i.e. from Malaysia, Singapore, Indonesia, Cambodia, Myanmar, Laos, Vietnam, Brunei and the Philippines were sent survey forms to study how each country promoted their international education. Twelve specialists from public and private universities and executives from related agencies were interviewed to assess Thailand's potential as a Regional Education Hub in Southeast Asia. Then questionnaires were sent to 63 administrators of both public and private universities with international programs to develop models and strategies to develop Thailand as a Regional Education Hub. Analysis of the above data, performing SWOT, using Porter's Five Forces to see Thailand's competitiveness and Porter's Diamond Model to assess Thailand's potentials, the findings reveal that Thailand has to focus on countries in the Greater Mekong subregion as its target market within 5 years to establish itself as a Regional Education Hub in Southeast Asia. It was found that strategies (P.I.L.L.A.R. Model) to promote Thailand as a Regional Education Hub in Southeast Asia are 1) firm policy with clear directions 2) improvement of the IT system 3) identification of responsible parties to take the leading roles 4) improvement of legislation 5) allocation of funds 6) resources. Thailand can increase its competitive advantage by synergizing among public and private universities, government agencies and the related industries in the form of an Educational Consortium (Consortium of International Education in Thailand: COET) for academic matters and others. Moreover, Thailand should have a dedicated agency (Study in Thailand Agency: SITA) to promote international education, especially abroad.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56740
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2005
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2005
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanittha_na_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_ch1.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_ch2.pdf10.1 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_ch3.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_ch4.pdf8.55 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_ch5.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
kanittha_na_back.pdf17.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.