Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56776
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าจากการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Feasibility study of electrical power generation from wastewater treatment of Bangkok Metropolitan Administration |
Authors: | เทอดศักดิ์ ทองคำธรรมชาติ |
Advisors: | แนบบุญ หุนเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naebboon.H@Chula.ac.th |
Subjects: | การผลิตพลังงานไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ แหล่งพลังงานทดแทน น้ำเสีย -- การทำให้บริสุทธิ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ พลังงชีวมวล Electric power production -- Thailand -- Bangkok Renewable energy sources Sewage -- Purification -- Thailand -- Bangkok Biomass energy |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานโดยใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาช่วยสนับสนุนและเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าจากการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร โดยใช้ก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดตะกอนของโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าในส่วนของการประเมินความเป็นไปได้ด้านเทคนิค ได้ทำการวิเคราะห์ผลขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสม จำนวนชั่วโมงเดินเครื่อง และปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ด้วยวิธีการโปรแกรมเชิงพลวัต เพื่อกำหนดการเดินเครื่องรายสัปดาห์ที่เหมาะสมที่สุด และประเมินความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์โดยใช้ดัชนีชี้วัด ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้านอกจากนี้ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซมีเทน และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำเสียและบีโอดี ผลการศึกษา พบว่า ด้วยการจัดการน้ำเสียในปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร ขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสม คือ 32 กิโลวัตต์ จำนวนชั่วโมงเดินเครื่อง 7,280 ชั่วโมงต่อปี และปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 232,960 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี มีอัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 26.81 และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุนเท่ากับ 1.55 ผลดังกล่าวแสดงให้เป็นถึงความเป็นไปได้ของโครงการทั้งในเชิงเทคนิคและเชิงเศรษฐศาสตร์ ส่วนแนวทางการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น ทำได้โดยการเพิ่มปริมาณก๊าซมีเทน ซึ่งคาดว่ามีความเป็นไปได้สูงสุดที่กำลังการผลิตขนาด 52 กิโลวัตต์ และให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 31.28 หรือคิดเป็นอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน 1.8 ตามลำดับ |
Other Abstract: | Electrical energy demand in Thailand has been continually increased due to the country's economic growth. Electricity generation from renewable energy sources, including solar, wind, biomass, hydropower, and hydrogen is an alternative that can help support and increase the security of power systems. Moreover it is considered as a clean and environmental friendly source of energy. In this thesis, the feasibility study of electrical power generation from wastewater treatment of Bangkok Metropolitan Administration has been conducted. It employs biogas from sludge treatment unit of the Nogkhaem Wastewater Treatment Plant as the fuel for internal combustion engine to convert mechanical energy to electrical energy. Then, for technical feasibility analysis the installed capacity, the number of operating hours, and electrical energy produced are estimated using Dynamic Programming to determine optimal weekly schedule of power generation. Economic feasibility is evaluated by the net present value(NPV), internal rate of return(IRR), and benefit-cost ratio (B-C ratio). These economic indices are used to determine the electricity generation project feasibility. Additionally, the guidelines of how to improve the effectiveness of electricity generation from the BMA's wastewater treatment have been studied. The research findings are that with current BMA's wastewater treatment, suitable installed capacity is 32 kW with 7,280 operating hours, and 232,960 kWh produced, yearly. The corresponding IRR is 26.81% and the benefit to cost ratio is 1.55. Hence, the project is technically and economically feasible. To effectively improve the worth of the project, we should increase the amount of the biogas produced, of which the installed capacity could be increased up to 52 kW, resulting in IRR of 31.28%, and the benefit to cost ratio equal 1.8, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56776 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.855 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.855 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thordsak_th_front.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch1.pdf | 617.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch2.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch3.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch4.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch5.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch6.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_ch7.pdf | 540.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
thordsak_th_back.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.