Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56960
Title: ปัจจัยทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ภาคใต้ตอนบน
Other Titles: Factors predicting expressed emotion of family caregiver of schizophrenic patients,upper part of southern region
Authors: ชนมาภรณ์ พงศ์จันทรเสถียร
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล
ผู้ดูแล -- แง่จิตวิทยา
Schizophrenics -- Care
Caregivers -- Psychological aspects
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ภาคใต้ตอนบน และเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรร คือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ การทำงาน ปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต ความทุกข์ทรมาน ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วย ร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ ด้านลบและด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ภาคใต้ตอนบน จำนวน 160 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา แบบวัดความทุกข์ทรมาน แบบวัดความสามารถในการดูแล แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบและด้านบวก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือทุกฉบับโดยมีค่า Cronbach Alpha .74,.86, .78,.89,.86,.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบและด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ภาคใต้ตอนบน อยู่ในระดับที่เหมาะสม 2. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ ของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วย โดยสามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบได้ร้อยละ 29.7 (R[superscript 2] =.297) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต และการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา โดยสามารถร่วมกันทำนายการแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวกได้ ร้อยละ 11.6 (R[superscript 2] =.116) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z[subscript การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบ] = .340Z[subscript การรับรู้ความรุนแรงของอาการ] - .270Z[subscript ความสามารถในการดูแล] + .197Z[subscript ระยะเวลาการเผชิญหน้า] Z[subscript การแสดงออกทางอารมณ์ด้านบวก] = .258Z[subscript การรับรู้ความรุนแรงของอาการ] - .166Z[subscript การเผชิญความเครียด]
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to study expressed emotion of family caregiver of schizophrenic patients, and determine predictors of expressed emotion of family caregiver of schizophrenic patients. The predicting variables were a factor related to patients which was working status; factors related to family caregiver which were income, problem focus coping strategies, perceived severity of illness, sense of suffering, patient care ability, and face to face contact. Research subjects which were selected by multistage sampling, were 160 family caregivers of schizophrenic patients receiving mental health treatment in out patient department of hospitals upper part of southern region. Research instruments were scales which were designed to measure problem focus coping strategies, sense of suffering, patient care ability, perceived severity of illness, and expressed emotion of family caregivers, positive and negative aspects. The reliability of the scales by Cronbach Alpha were .74,.86.,78.,89.,86.,89, respectively. Statistical techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation,Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression. Major findings were as follows: 1. Expressed emotion in positive and negative aspects of family caregivers of schizophrenic patients, upper part of southern region were at the appropriate level. 2. Factors significantly predicted negative expressed emotion of family caregiver of schizophrenic patients were perceived severity of illness, patient care ability, and face to face contact, at the .05 level. These predictors were accounted for 29.7 percent (R[superscript 2] =.297) 3. Factors significantly predicted positive expressed emotion of family caregiver of schizophrenic patients were perceived severity of illness, and patient care ability, at the .05 level. These predictors were accounted for 11.6 percent (R[superscript 2] =.116) The Standardized Score function was: Z[subscript Negative expresseed emotion] = .340Z[subscript Perceived severity of illness] - .270Z[subscript Patient care ability] + .197Z[subscript Face to face contact] Z[subscript Positive expressed emotion] = .258Z[subscript Perceived severity of illness] - .166Z[subscript Problem focus coping]
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56960
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.749
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.749
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chonmaporn_po_front.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_ch1.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_ch2.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_ch4.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
chonmaporn_po_back.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.