Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57240
Title: ระบบบริหารจัดการหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Other Titles: University residential hall management : case studies of Chulalongkorn University and Assumption University
Authors: ปริยมาศ มิ่งมณีนาคิน
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
บุษรา ศรีพานิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
sara_sripanich@yahoo.com
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
สถาบันอุดมศึกษา -- อาคาร -- การจัดการ
หอพัก -- การจัดการ
Chulalongkorn University
Assumption University
College and Universities -- Building -- Management
Dormitories -- Management
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ความสำคัญต่อนักศึกษาและมหาวิทยาลัย อย่างมาก การจัดการหอพักของสถาบันอุดมศึกษามีหลายรูปแบบ ไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แตกต่างกันไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบบริหารจัดการ หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และเพื่อนำเสนอแนวคิดและขัอเสนอแนะในการบริหารจัดการหอพัก นักศึกษาของมหาวิทยาลัย การศึกษานี้เลือกศึกษา 3 กรณีศึกษา ได้แก่ "หอพัก AU" ของมหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ "หอพักนิสิตจุฬาฯ" และหอพัก U Center" ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทย่าลัย โดยทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและผู้จัดการหอพักนิสิต นักศึกษา 3 แห่ง จากการศึกษาพบว่าหอพักกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่งมีโครงสร้างของระบบการจัดการหอพัก เหมือนกันประกอบด้วยส่วนบริหารนโยบายทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติ และส่วนปฏิบัติ การทำหน้าที่ดำเนินกิจการหอพัก แบ่งออกเป็นส่วนจัดการที่มีผู้จัดการหอพักทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแล การปฏิบัติงาน และส่วนปฏิบัติงานซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำอาคารหอพัก และพบว่าลั้กษณะระบบการจัดการ หอพักมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบจัดจ้างบุคคลภายนอกทั้งระบบ (Total Outsourcing) ซึ่งพบได้ในกรณีศึกษาที่ 1 "หอพัก AU" และกรณีศึกษาที่ 3 "หอพัก U Center" และแบบผสมระหว่างบุคคลภายในองค์กรและจัดจ้าง บุคคลภายนอก (Combination Sourcing) พบในกรณีศึกษาที่ 2 "หอพักนิสิตจุฬฯ" โครงสร้างหน่วยงาน หอพักทั้ง 3 แห่งมีรูปแบบการจัดองค์การแบบตามหมวดงาน (Functional Organization) ค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการแต่ละหอพักมีจำนวนแตกต่างกันแปรผันไปตามลักษณะงานและจำนวนบุคลากร จากการ วิเคราะห์พบว่า ระบบการจัดการหอพักมีส่วนช่วยสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย นโยบายเรื่อง การจัดบริหารหอพักและลักษณะทางกายภาพของหอพักมีผลต่อการเลือกระบบการจัดการหอพัก ทั้งนี้ระบบ การจัดการแต่ละรูปแบบมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหอพักแตกต่างกัน ผลการศึกษานี้สรุปว่า ปัจจัยหลักที่ ส่งผลต่อระบบการจัดการหอพักนิสิตนักศึกษามี 2 ปัจจัย ได้แก่นโยบายของมหาวิทยาลัยและนโยบายการ จัดการหอพัก และลักษณะทางกายภาพของหอพัก การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะในการจัดระบบหอพักนิสิต นักศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยควรคำนึงถึงเรื่องนโยบายในการจัดบริการหอพักเป็นหลัก ควรเลือกจัดจ้าง บุคคลภายนอกที่มีสภาพคล่องทางการเงินและทำความเข้าใจในข้อตกลงสัญญาจ้างทั้งสองฝ่ายทั้งนี้การจัด โครงสร้างระบบการจัดการควรประกอบไปด้วยส่วนบริหารและส่วนปฏิบัติการ
Other Abstract: A university residence hall is a very important facility for both the students and the university. However, its management frequently shows no uniformed standards. This study aims to investigate the forms of university residence management and the factors which affect them as well as to present guidelines on managing university residences. The samples of the study are Assumption University (AU) Residence Hall, Chulalongkorn University (CU) Student Residence Hall and the U-Center Dormitory. Data were collected by semi-structured interviews with the two universities' executives and the managers of these three residences. Results were as follows. First, all the three residences shared a similar management structure consisting of the administrative and policy level and the operational level. The first was responsible for determing policies and guidelines for operations. The other was responsible for running residence hall businesses, divided into management personnel supervising and controlling operations of the residences and operational personnel consisting of residence staff members. Furthermore, all the three residences had a functional organization structure. Third, there were two forms of residence management systems: 1) total outsourcing, found in AU Residence Hall and the U-Center Dormitory, and 2)combination sourcing, found In CU Student Residence Hall. Finally, each residence's operational costs varied according to its operation and number of staff. A further analysis of the interview data indicates that university residence management policies seem to support university policies. Also, university residence service policies as well as the physical features of a university residence are likely to affect decisions on the type of residence management. It can be concluded from this study that university residence management is affected by two factors: 1)university policies and residence management policies, and 2) the physical of a university residence. Guidelines on university residence management include the following. First, more attention should be paid on service management polices. In addition, outsourcing is an effective management system but should be done with companies having high liquidity, and mutual agreement on an employment contract should be reached between the two parties. Finally, the management structure should consist of the administrative level and the operational level.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57240
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.394
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.394
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
priyamas_mi_front.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_ch1.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_ch2.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_ch3.pdf10.46 MBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_ch4.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_ch5.pdf899.7 kBAdobe PDFView/Open
priyamas_mi_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.