Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58050
Title: ผลกระทบของภาวะผู้นำ ความสามารถในการดูดซับความรู้และกลยุทธ์ธุรกิจต่อนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
Other Titles: The impact of leadership, absorptive capacity and business strategy on innovation of Thai small and medium enterprises
Authors: สุพกาญจน์ วิทยพัธนา
Advisors: อัจฉรา จันทร์ฉาย
Advisor's Email: chandrachai@yahoo.com
Subjects: ภาวะผู้นำ
ผู้บริหารระดับสูง
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
Leadership
Chief executive officers
Strategic planning
Technological innovations
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความสามารถในการดูดซับความรู้และกลยุทธ์ธุรกิจต่อนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการและผู้บริหารของกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยโดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารทางไปรษณีย์จำนวน 1,296 ชุด มีแบบสอบถามที่ส่งถึงมือผู้บริหารจำนวน 1,227 ชุด และมีแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและสามารถนำมาวิเคราะห์ผลได้จำนวนทั้งสิ้น 138 ชุด ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 11.25 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงโดยใช้สถิติ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยนี้ปรากฏว่าภาวะผู้นำของผู้บริหารในแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ธุรกิจที่ผู้บริหารใช้ แต่ภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์กับทุกกลยุทธ์คือความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง การส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กรและการกระตุ้นความคิดของพนักงานซึ่งการกระตุ้นความคิดของพนักงานมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจน้อยที่สุด ในส่วนความสามารถในการดูดซับความรู้มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ธุรกิจ จากงานวิจัยพบว่าการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรกับหุ้นส่วนภายนอกบริษัทมีความสัมพันธ์กับ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำและกลยุทธ์สร้างความแตกต่างมากกว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จากภายนอกและกิจกรรมวิจัยและพัฒนาในองค์กรโดยกลยุทธ์การมุ่งเน้นให้ผลตรงกันข้าม ในส่วนกลยุทธ์ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการผลิต พบว่านวัตกรรมผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ กลยุทธ์สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์การมุ่งเน้นตามลำดับและในส่วนนวัตกรรมกระบวนการผลิตมีความสัมพันธ์กับ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง กลยุทธ์ต้นทุนต่ำและกลยุทธ์การมุ่งเน้นตามลำดับ
Other Abstract: This study is survey research aiming at are to studying the relationships and the impacts of leadership, absorptive capacity and business strategy on innovation of food industry in Thai small and medium enterprises. The samples of this study are the entrepreneurs or managers of Thai small and medium enterprises. Data collection comprised of in-depth interviews, pilot study and mail survey. The questionnaire was sent to 1,296 companies and 1,227 of them received the questionnaire. There are 138 companies completed and returned the questionnaire, which can be calculated to a response rate of 11.25 %. Data analysis included descriptive statistics and inferential statistics – Pearson Correlation Coefficient, Simple Regression Analysis and Multiple Regression Analysis. The research findings indicate that leadership relate to business strategy which the company applied. Leaderships which are related to 3 generic business strategies are the top management commitment, the internal organizational learning facilitation and the intellectual stimulation, but the intellectual stimulation relate to business strategies less than the other leaderships. For the absorptive capacity, network and alliances with external partner are more related to Cost Leadership strategy and Differentiation strategy than External knowledge environment and R&D Activities but Focus strategy is more related to R&D Activities than network and alliances with external partner and External knowledge environment. For Business strategy is related to Product innovation and Production process innovation. Product innovation relate to Cost Leadership strategy, Differentiation strategy and Focus strategy respectively. At last, Production process innovation relate to Differentiation strategy, Cost Leadership strategy and Focus strategy respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58050
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1147
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1147
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supakan Wittayapattana.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.