Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58068
Title: การสร้างดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยอ้างอิงการวิเคราะห์ต้นทุน
Other Titles: Development of cost-based health promotion activity index in MOPH district hospitals
Authors: ภรณี เหล่าอิทธิ
Advisors: ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piya.H@Chula.ac.th,piya@post.harvard.edu,Piya.H@Chula.ac.th
Jiruth.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลชุมชน
การส่งเสริมสุขภาพ
Health promotion
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับระบบบริการสุขภาพให้มีบทบาทในด้านสร้างเสริมสุขภาพถือเป็นประเด็นหลักอันหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับการยอมรับและมีการดำเนินการในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ที่ผ่านมาความรู้เรื่องขอบเขตการดำเนินการงานสร้างสุขภาพและต้นทุนของกิจกรรมเหล่านั้นในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังจำกัด การศึกษาวิจัยนี้ทำการศึกษากิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล โดยการทบทวนบทความวิชาการนานาชาติจากฐานข้อมูล Pubmed อย่างเป็นระบบ และการสำรวจกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนของไทยจำนวน 225 แห่ง เพื่อรวบรวมรายการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และ คัดเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยโรงพยาบาลส่วนหนึ่งมาทำการวิเคราะห์ต้นทุนของการให้บริการโดยใช้วิธีวิเคราะห์ต้นทุนแบบฐานกิจกรรม (activity based costing) ในโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 3 แห่งที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามระดับโรงพยาบาล และนำข้อมูลต้นทุนเฉลี่ยรายองค์ประกอบไปใช้ในการประมาณต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอื่น ๆ และพัฒนาเป็นดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อไป ผลการทบทวนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ โดยการทบทวนอย่างเป็นระบบ พบว่ามีบทความ 10 เรื่องที่เข้าเกณฑ์ โดยมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ระบุไว้ เช่น การตรวจค่าดัชนีมวลกายของผู้มาโรงพยาบาลเพื่อส่งผู้มีปัญหาน้ำหนักเกินปรึกษาแพทย์ การให้สารไซลิทอลในหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดการเกิดฟันผุในลูก การจัดกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพในผู้ป่วยทางจิต การสำรวจกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยพบความชุกของการจัดกิจกรรมในกลุ่มผู้ป่วยสูงที่สุด และมีการจัดกิจกรรมให้กับญาติผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการอื่นน้อยกว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพให้แก่บุคลากรและประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ได้ดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบแบบแผนที่แน่นอนหรือเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลงาน การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพหลักของโรงพยาบาลสามแห่ง ได้แก่ งานฝากครรภ์ งานคลินิคเด็กดี งานวางแผนครอบครัว และงานคลินิคอดบุหรี่ พบว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อนาทีขององค์ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลไม่มากนัก และมีต้นทุนเฉลี่ยต่อรายของบริการ อยู่ระหว่าง 113.77 บาทถึง 614.19 บาทในงานฝากครรภ์ ระหว่าง 162.47 บาทถึง 307.34 บาทในคลินิคเด็กดี ระหว่าง 207.04 บาทถึง 238.07 บาทในคลินิคอดบุหรี่ โดยต้นทุนต่อผู้รับบริการวางแผนครอบครัวมีความหลากหลายมากที่สุดจาก 104.40 ถึง 2,155.72 บาทขึ้นกับประเภทการวางแผนครอบครัวที่ใช้ โดยต้นทุนต่อหน่วยระหว่างโรงพยาบาลตามประเภทการให้บริการไม่แตกต่างกันชัดเจน ส่วนใหญ่ขึ้นกับรูปแบบการจัดบริการหรือการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการที่ได้รับ การประมาณการต้นทุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอื่น ๆ โดยใช้ต้นทุนรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ระหว่าง 46.69 ถึง 211.81 บาท และสามารถดัดแปลงเป็นดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตั้งแต่ 1.00 ถึง 4.54 ผลการวิจัยในการศึกษานี้ สามารถช่วยผู้บริหารในแต่ละองค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรและกระบวนการให้เหมาะสม โดยดัชนีวัดการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในประเทศได้ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Reorienting health services to be more engaged in health promotion is a key health promotion strategy that is widely accepted. The strategy has been implemented in Thailand. However, the scope of health promotion work by Thai hospitals and its related cost functions were hardly known. This research project explored health promotion activities in the hospital settings. It identified health promotion activities through a systematic review of documents using PubMed database. A survey of health promotion activities was carried out in 225 district hospitals to gather details and information of health promotion activities taken place in Thai context. In addition, activity based costing in three purposively selected district hospitals were performed to evaluate unit cost of each core health promotion service. The cost information was used to estimate unit cost of other hospital based health promotion services in the country as well as the cost-based Health Promotion Activity Index. The systematic review identified 10 citations that met the review criteria which include health promotion activities such as body mass index monitoring during clinical consultation, Xylitol prescription for pregnant women, and risk reduction interventions among mental health patients. Survey of Thai district hospitals found that health promotion activities had been implemented across all target groups, mostly for hospital patients and less so for the relatives and others. Health promotion activities for healthcare personals and general public had been performed relatively regularly. However, they were not systematically implemented and did not constitute a part of the organization’s key performance indicators. Activity base costing of antenatal care, well baby clinic, family planning and quit smoking clinic showed that the cost for each component was not much different across the hospitals. Unit cost for ANC ranged from 113.77 to 614.19 baht, well baby from 162.7 to 307.34 baht and quit smoking clinic from 207.04 to 238.07 baht. Family planning unit cost varies widely from 104.40 to 2,155.72 baht due to different method of contraception. There was no big difference in unit cost across hospitals, except for difference in service structure and extra investigations. Cost estimates for other health promotion activities range from 46.69 Baht to 211.81 Baht which is equivalent to the Cost-based Health Promotion Activity Index from 1.00 to 4.54. This analysis can be useful for resource allocation and management at each organization. The health promotion activity index can support policy makers in the allocation of budget and resources for health promotion in the hospitals in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58068
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.753
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.753
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474917530.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.