Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58073
Title: | การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น |
Other Titles: | LEXICAL AND PHONOLOGICAL VARIATION IN PHUKET THAI BY AGE: AN IMPLICATION FOR DIALECT CONTACT |
Authors: | ฌัลลิกา มหาพูนทอง |
Advisors: | ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ กัลยา ติงศภัทิย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Theraphan.L@Chula.ac.th,theraphan.l@gmail.com,theraphan.l@gmail.com DeanArts@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุของผู้พูดและสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยถิ่นภูเก็ตโดยใช้ทฤษฎีการสัมผัสภาษาถิ่น โดยมีปัจจัยสำคัญในงานวิจัยคือ ภูมิลำเนาของบรรพบุรุษ ตัวแปรทางภาษาในงานวิจัย ได้แก่ ศัพท์จำนวน 36 หน่วยอรรถและเสียง 4 ตัวแปร คือ (1) พยัญชนะท้าย (ʔ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาว (2) สระ (ei, əɨ, ou) ในพยางค์เปิด (3) วรรณยุกต์สูงขึ้นตก (454) และ (4) วรรณยุกต์สูงระดับ (44) ผู้บอกภาษาในงานวิจัยนี้เป็นคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 120 คน แบ่งตามภูมิลำเนาบรรพบุรุษ 4 ถิ่น ได้แก่ ภูเก็ต ภาคใต้และเป็นคนพูดภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาคใต้และเป็นคนพูดภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก และภาคกลาง ถิ่นละ 30 คน ในแต่ละถิ่นแบ่งออกเป็น 3 รุ่นอายุ รุ่นละ 10 คน ได้แก่ รุ่นที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป รุ่นที่ 2 อายุ 35 – 45 ปี และรุ่นที่ 3 อายุ 10 – 20 ปี ทั้งนี้ ผู้บอกภาษาสามรุ่นอายุคัดเลือกจากผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน (พ่อแม่ – ลูก – หลาน) การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากับผู้บอกภาษาแบบไม่เป็นทางการในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ในการวิเคราะห์ข้อมูล คัดเลือกคำ 20 คำแรกที่มีตัวแปรทางภาษาปรากฏอยู่มาใช้ จากนั้น แจงนับและคำนวณค่าทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ภาษาไทยถิ่นภูเก็ตในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ลู่เข้าหาภาษาไทยมาตรฐาน โดยที่ตัวแปรศัพท์เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าตัวแปรเสียง ที่สำคัญพบว่า มีตัวแปรเสียงพยัญชนะท้าย (ʔ) ในพยางค์ตายสระเสียงยาวที่ไม่เป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ผู้พูดอายุมากและอายุน้อยใช้รูปแปรภาษาไทยถิ่นภูเก็ตและรูปแปรภาษาไทยมาตรฐานใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังพบรูปแปรสระที่ไม่ได้เป็นรูปแปรดั้งเดิมของภาษาถิ่นใด คือ [i i̯ , ɨ ɨ̯ , uu̯] ซึ่งเป็นรูปภาษาถิ่นในระหว่าง (interdialect form) |
Other Abstract: | This research aims at analyzing the lexical and phonological variation in Phuket Thai by age. It also synthesizes Phuket Thai dialect change based on the dialect contact theory using the ancestors’ birthplace as the main variable. The linguistic variables consist of 36 semantic units and 4 phonological variables i.e. (1) final (ʔ) in long checked syllables, (2) vowels (ei, əɨ, ou) in open syllables, (3) high-rising-falling tone (454), and (4) high-level tone (44). The data was collected from 120 participants in Phuket province. They were classified into 4 groups according to their ancestors’ birthplaces: (1) Phuket, (2) Southern Thailand where Eastern Southern Thai is spoken, (3) Southern Thailand where Western Southern Thai is spoken, and (4) Central Thailand. Thirty participants come from each ancestors’ birthplace. Besides, in each ancestors’ birthplace, the participants are divided into three age groups: over 60 years old, 35 - 45 years old and 10 – 20 years old (ten from each group). Each set of the three-age-group participants comes from different generations of the same family (parents–child–grandchild). The participants were interviewed using informal conversation about everyday life topics. The first twenty tokens from each linguistic variable were analyzed. Then the data was tallied and analyzed with descriptive statistics. The result shows that Present Day Phuket Thai has the tendency to converge to Standard Thai. The lexical variable converges to Standard Thai faster than the phonological variables. One of the phonological variables i.e. final (ʔ) in long checked syllables, is not in accordance with the hypothesis. The elderly group and the young group use the Phuket Thai variant and the Thai Standard variant almost equally. Besides, the variants [i i̯ , ɨ ɨ̯ , uu̯], which are not the local variant of any dialects, emerged as the interdialect form. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58073 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.720 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.720 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480504922.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.