Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58114
Title: แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ
Other Titles: Guideline for learning enhancement for skipped generation family to promote child well-being based on the family ecology framework
Authors: พัฒนาพร ไทยพิบูลย์
Advisors: จรูญศรี มาดิลกโกวิท
จิตตินันท์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Charoonsri.M@Chula.ac.th,charoonsri@hotmail.com
tchittinun@hotmail.com
Subjects: ครอบครัว
บิดามารดาและบุตร
ครอบครัว
Families
Parent and child
Domestic relations
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลาง และวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไข ตามความคิดครอบครัวนิเวศเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลาง รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กภายใต้ความคิดครอบครัวนิเวศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods) โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวแหว่งกลาง 109 ครอบครัว ในตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และตำบลวัดแก้ว อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสหสัมพันธ์ สำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับครอบครัวแหว่งกลาง 109 ครอบครัว และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกรณีศึกษาครอบครัวแหว่งกลาง 9 ครอบครัว รวมทั้ง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับครอบครัวแหว่งกลางในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดราชบุรี 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการสรุปแบบอุปนัย เก็บข้อมูลระหว่างเมษายน – กรกฎาคม 2559 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครอบครัวแหว่งกลางมีความรู้เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในระดับปานกลาง ทั้งด้านการเป็นพ่อแม่ ด้านการดูแลตัวเองของปู่/ย่า/ตา/ยาย ด้านการจัดการทรัพยากรครอบครัว และด้านกฎหมาย แม้ครอบครัวแหว่งกลางจะยังขาดความรู้ด้านกฎหมาย และด้านการจัดการทรัพยากรครอบครัว แต่ครอบครัวกลับมีความต้องการอย่างมากที่จะเรียนรู้ในด้านการเป็น พ่อแม่ และด้านการดูแลตัวเองของปู่/ย่า/ตา/ยาย ส่วนผู้ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่สำคัญที่สุด ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โทรทัศน์ วิทยุ และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อย่างไรก็ตาม พบว่า อบต. เป็นผู้จัดการความรู้ที่ยังมีช่องว่างมากที่สุดระหว่างความต้องการของครอบครัวแหว่งกลางและบทบาทในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน วิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่สำคัญที่สุด คือ การไปรับข้อมูลข่าวสารด้วยตนเองที่หน่วยบริการทางสังคมในชุมชน เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อบต. และพบว่า วิธีจัดการเรียนรู้สำหรับครอบครัวแหว่งกลางที่มีช่องว่างมากที่สุด 3 วิธี ได้แก่ (1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการในเครือญาติและชุมชน (2) สื่อในชุมชน หอกระจายข่าวและวิทยุชุมชน และ (3) สื่อออนไลน์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ตตำบล สำหรับปัญหาในการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็ก จำแนกได้เป็น 6 ประเด็น ได้แก่ (1) ลักษณะครอบครัวแหว่งกลาง (2) สุขภาพของปู่ ย่า ตา ยายในครอบครัวแหว่งกลาง (3) เศรษฐกิจของครอบครัวแหว่งกลาง (4) ความสัมพันธ์ในระบบครอบครัวนิเวศของครอบครัวแหว่งกลาง (5) สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยีและสื่อ และ (6) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวแหว่งกลาง 2. ปัจจัยในการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลางครอบคลุม (1) รายได้รวมของครอบครัว (2) การอยู่ร่วมกันของพ่อแม่ (3) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวแหว่งกลาง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับชุมชน (5) ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแหว่งกลางกับชุมชน และ (6) ความอยู่ดีมีสุขของปู่ ย่า ตา ยาย ส่วนเงื่อนไขในการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลางครอบคลุม (1) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวแหว่งกลาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแหว่งกลางกับชุมชน และ (3) การสนับสนุนทางสังคมสำหรับครอบครัวแหว่งกลาง 3. แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลาง ประกอบด้วย 25 แนวทาง ซึ่งมุ่งให้ทุกครอบครัวสามารถทำหน้าที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลางได้อย่างเต็มศักยภาพตามสภาพของแต่ละครอบครัวแหว่งกลาง ได้แก่ ครอบครัวแหว่งกลางที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ครอบครัวแหว่งกลางที่ขาดความพร้อมบางด้าน และครอบครัวแหว่งกลางที่มีความพร้อม ทั้งนี้ สามารถจำแนก 25 แนวทางดังกล่าวเป็น 6 กลุ่ม ตามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
Other Abstract: This research aims to study the learning situation of Skipped Generation Family and analyze its factors and conditions based on the family ecology framework to promote the child well-being in Skipped Generation Family, as well as, to present the guideline for learning enhancement of the Skipped Generation Family to promote child well-being based on the family ecology framework. The research applies Mixed Methods of quantitative research, which is the sample group of 109 Skipped Generation Families from Bot sub-district, Phimai district, Nakhon Ratchasima province and Wat Kaew sub-district, Bang Phae district, Ratchaburi province by collecting the 3 sets of questionnaires then analyzing the data by Frequency Distribution, Percentage, Mean and Correlation. Qualitative research conducted by collecting the data by Non-Participant Observation of 109 families and in-depth interviewing on the case study of 9 Skipped Generation Families including 40 personnel whose work related to Skipped Generation Family in Nakhon Ratchasima and Ratchaburi province. Collect the data from 2 sets of interview then analyze the data by Categorization, Comparison and Inductive Conclusion. The data was collected during April–Jul 2016. The finding reveals as follow: 1. Skipped Generation Family possesses the medium level of knowledge relevant to the promotion of child well-being in the field of being parents, self-caring of grandparents, family resources management and legal matters. Even though Skipped Generation Family lacks legal knowledge and family resources management, such family puts many efforts to learn about being parents and self-caring of grandparents. The most important authority in charge of knowledge management for Skipped Generation Family is the sub-district headman, village headman, public health officer, village health volunteer (VHV), Television & Radio broadcasting and sub-district Administrative Organization (SAO). The finding; however; indicates that SAO is the authority with the biggest gap between the inquiry of Skipped Generation Family and the current role in knowledge management. The most important knowledge management method for Skipped Generation Family is to collect the information or news in person at the social service unit in the community such as sub-district health promotion hospital; SAO. And, the 3 methods for knowledge management for Skipped Generation Family with the biggest gaps are (1) Unofficial Information Exchange between Relatives and Community (2) Community Media, Broadcast Tower and Community Radio Station and; (3) Online Media such as Smart Phone and Sub-district Internet Network. The problem of learning for promotion of child well-being in Skipped Generation Family can be classified into 6 topics; (1) Characteristic of the Skipped Generation Family (2) Health Condition of Grandparents in the Skipped Generation Family (3) Economic Status of Skipped Generation Family (4) Relationship within the Family Ecology of Skipped Generation Family (5) Cultural Society & Technology and Media; and (6) Organization Relevant to Skipped Generation Family. 2. The factors, which promote the child well-being of Skipped Generation Family, are as follow: (1) Cumulative Income of the Family (2) Cohabitation of Parents (3) Relationship within the Skipped Generation Family (4) Relationship between the Child and the Community (5) Relationship between Skipped Generation Family and the Community; and; (6) The Well-being of Grandparents. The condition for promoting child well-being are as follow: (1) Relationship within the Skipped Generation Family (2) Relationship between Skipped Generation Family and the Community; and; (3) Social Promotion for Skipped Generation Family. 3. The guideline for learning enhancement for Skipped Generation Family consist of 25 guidelines, which emphasize every family to promote child well-being of Skipped Generation Family at its full potential capacity based on the condition of each Skipped Generation Family, i.e., Skipped Generation Family in the difficult condition, Skipped Generation Family lacking partial readiness and Skipped Generation Family with readiness. Furthermore, the 25 guidelines can be classified into 6 groups based upon the suitability and possibility for application by the organization and relevant parties from policy level and practical level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58114
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1138
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584270827.pdf12.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.