Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58123
Title: การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากพลาสติกชีวภาพพอลิแลคติกแอซิด
Other Titles: Production Of Bioextract Using Polylactic Acid Bioplastic
Authors: ชวัลพร อินทร์จันทร์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,rpichaya@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากพลาสติกชีวภาพ PLA โดยหมักรวมกับวัสดุหมักร่วม (ได้แก่ เศษอาหารและเศษผัก) โดยทำการผลิตน้ำหมักชีวภาพทั้งหมด 5 ชุดการทดลอง ในอัตราส่วนของเศษอาหารหรือเศษผักต่อพลาสติกชีวภาพ PLA ได้แก่ อัตราส่วน 1:0 1:1 1:2 2:1 และพลาสติกชีวภาพ PLA เพียงอย่างเดียว โดยแต่ละชุดการทดลองได้ทำการศึกษาจำนวน 2 ซ้ำ ทำการหมักเป็นระยะเวลา 21 วัน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หา ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ค่าพีเอช ค่าการนำไฟฟ้า ค่ากรดอินทรีย์ระเหยง่าย ค่าซีโอดี หาดัชนีการงอกของเมล็ด และนำน้ำหมักชีวภาพมาปลูกต้นผักบุ้ง เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต ส่วนการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพ PLA จะวิเคราะห์ด้วยการส่องกล้อง SEM การชั่งน้ำหนักก่อน-หลัง ผลการทดลองพบว่า น้ำหมักชีวภาพที่ใช้พลาสติกชีวภาพ PLA หมักร่วมกับเศษอาหาร ค่าปริมาณธาตุอาหารหลักนั้นต่ำกว่ามาตรฐานแต่สามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของผักบุ้งได้ โดยอัตราส่วนเศษอาหารต่อพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิแลคติกแอซิด 2:1 ทำให้ต้นผักบุ้งมีการเจริญเติบโตมากที่สุด และจากการชั่งน้ำหนักแผ่นพลาสติกชีวภาพ พบว่าน้ำหนักลดลง ร้อยละ 2.05 เมื่อส่องกล้อง SEM พบว่าพื้นผิวพลาสติกเกิดการถูกทำลายเท่ากับอัตราส่วน 1:2 ส่วนน้ำหมักชีวภาพที่ใช้พลาสติกชีวภาพ PLA หมักร่วมกับเศษผัก พบว่า น้ำหมักชีวภาพไม่ได้มาตรฐาน โดยมีค่าพีเอชและปริมาณธาตุอาหารหลักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน พลาสติกชีวภาพ PLA ย่อยสลายได้น้อยจากค่าน้ำหนักที่ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 0.01 นอกจากนั้น เมื่อนำไปปลูกผักบุ้งพบว่าอัตราการเจริญเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม และน้ำหมักชีวภาพที่ใช้พลาสติกชีวภาพ PLA เพียงอย่างเดียว พบว่า น้ำหมักชีวภาพไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากปริมาณธาตุอาหารหลักที่ต่ำ พลาสติกชีวภาพ PLA ย่อยสลายได้น้อยจากค่าน้ำหนักที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.14 และเมื่อนำไปทดลองปลูกผักบุ้ง พบว่า อัตราการเจริญเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม
Other Abstract: This research investigated the feasibility of using bioplastic polylactic acids (PLA) food waste and vegetable waste for producing bioextract. Bioplastic (PLA) was obtained from Vandapac Industry and Food waste was collected from a canteen at Chulalongkorn University. The study was performed at 5 different ratio of bioplastic (PLA) food waste and vegetable as 1:1 1:0 1:2 2:1 and 0:1, respectively. Five anaerobic digestion reactors were fed by various ratios of bioplastic (PLA) food waste and vegetable waste at reaction time of 21 days. The bioextract produced from the reactiors was collected and analyzed for major nutrients for plantation namely nitrogen, phosphorus and potassium pH EC VFA and Germination index. Results showed that chemical oxygen demand (COD) of the bioextract gradually decreased within 14 days. While the pH of the fermentation reactor was drop within the first week and then then gradually increased during the 21-day period. It was observed that the concentration of nitrogen, phosphorus and potassium in bioextract were increased with the ratio of PLA and food waste. Finally, the results of seed germination test with bioextract showed that all bioextract from various mixtures could meet the organic fertilizer standard requiremets of Thailand. PLA can be used in co-digestion material produced of bioextract.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58123
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1037
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1037
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670160121.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.