Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58209
Title: การพัฒนาวิธีการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางการซ้อมวงดนตรีโดยมีเวลาปรับตั้งเครื่องดนตรี
Other Titles: SOLUTION APPROACH DEVELOPMENT FOR A MUSIC REHEARSAL PROBLEM WITH INSTRUMENT SETUP TIME
Authors: ชาคริต ปักษ์ประจำ
Advisors: พิศิษฏ์ จารุมณีโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pisit.ja@chula.ac.th,pisit.ja@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การซ้อมดนตรีเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมของนักดนตรีก่อนการขึ้นแสดงคอนเสิร์ตและการแสดงออร์เครสตรา โดยในการซ้อมแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น 2 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการเช่าสถานที่ซ้อม และค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างนักดนตรี ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวขึ้นอยู่กับลำดับการซ้อม ตลอดจนจำนวนเพลงและจำนวนนักดนตรีที่ต้องทำการซ้อมในแต่ละช่วงเวลา การวางแผนการซ้อมที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ทั้งในส่วนของนักดนตรีที่จำเป็นต้องรอระหว่างเพลง และในส่วนของจำนวนวันที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการจัดตารางการซ้อมที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาการจัดตารางการซ้อมวงดนตรีมักถูกแก้ไขด้วยวิธีการฮิวริสติกแบบต่างๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อหาคำตอบที่เหมาะที่สุดสำหรับปัญหาดังกล่าวในหนึ่งขั้นตอน ทั้งนี้แบบจำลองดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาการจัดตารางการซ้อมวงดนตรีที่มีเวลาปรับตั้งเครื่องดนตรีได้อีกด้วย แบบจำลองคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างแบบจำลองการจัดเส้นทางการเดินรถและแบบจำลองการจัดตารางการซ้อมเพลงแบบดั้งเดิม โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองทั้งหมด 5 รูปแบบ ที่มีความแตกต่างในแง่ของการคิดค่าใช้จ่ายรวม และเวลาในการปรับตั้งเครื่องดนตรี ผลจากการทดลอง พบว่า แบบจำลองที่มุ่งเน้นการลดเวลารอโดยไม่มีเวลาปรับตั้งเครื่องดนตรี (แบบจำลอง A1) สามารถลดเวลารอของนักดนตรีลงได้ทั้งในกรณีที่ความยาวเพลงเท่ากันและไม่เท่ากัน ในกรณีที่พิจารณาเวลาปรับตั้งเครื่องดนตรี (แบบจำลอง A3) แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นยังคงสามารถหาค่าคำตอบที่เหมาะสมที่สุดได้ หากแต่เวลาที่ใช้ในการคำนวณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีที่สมการจุดประสงค์พิจารณาลดทั้งจำนวนวันที่นักดนตรีต้องมายังสถานที่ซ้อมและเวลารอ (แบบจำลอง A5) แบบจำลองดังกล่าวสามารถหาค่าที่เหมาะสมที่สุดได้เพียง 10 ชุดข้อมูล โดยเป็นชุดข้อมูลที่มีองค์ประกอบของการซ้อมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีอื่น
Other Abstract: Music rehearsal is crucial for any concerts and orchestral performances as it helps those related players ready for the lives. Frequent rehearsing is preferable; but, not that practical in real life due to immense operational costs, including major costs of rental and wages. The number of rehearsal components, i.e. music pieces and musicians, also affects the rehearsal planning as it complicates the assigning and sequencing of those underlining elements in multiple rehearsal days. Improper planning may also leave uninvolved players stay idle in the rehearsal place. While this so-called music rehearsal problem is typically solved by two-stage heuristics, this research aims to develop an integrated integer linear programming that solves such a problem and its variants, i.e. music rehearsal problem with instrument setup time, to optimality in one stage. This model is a combination of the capacitated vehicle routing problem and the traditional music rehearsal problem. In this work, five different formulations with different objective functions are proposed. The results from a model with no instrument setup time (Model A1) show significant reduction in waiting time for both equal and unequal music length cases. When instrument setup time is introduced (Model A3), optimal solutions could still be founded; but, with notable growth in computational time. Lastly, when both number of show-up days and waiting time are concerned (Model A5), only 10 from 70 instances could be solved to optimality due to complexity of the problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58209
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1077
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1077
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770397721.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.