Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58360
Title: ทำเลที่ตั้งโครงการและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้ มอลล์: กรณีศึกษา เจ อเวนิว ทองหล่อ ซอย 15 และ ลาวิลล่า พหลโยธิน
Other Titles: THE LOCATION AND BEHAVIOR CONSUMER OF COMMUNITY MALL: CASE STUDIES OF J AVENUE THONGLOR SOI 15 AND LAVILLA PHAHOLYOTHIN
Authors: วิทิตยา ยิ้มเมือง
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.P@Chula.ac.th,Kpanitchpakdi@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำเลที่ตั้งที่ดีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าชุมชนหรือคอมมูนิตี้มอลล์ ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวคิดในการพัฒนาโครงการ ทำเลที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพของโครงการ พฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคและปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ โดยคัดเลือกกรณีศึกษา 2 แห่ง คือ โครงการ เจ อเวนิว ทองหล่อ ซอย 15 และโครงการลาวิลล่า พหลโยธิน ซึ่งมีขนาดโครงการใกล้เคียงกัน รูปแบบโครงการคล้ายคลึงกัน พัฒนาและบริหารจัดการโดยผู้ประกอบการรายเดียวกัน ในทำเลที่ตั้งที่แตกต่างกัน โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research) ทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต การนับปริมาณผู้ใช้บริการ การสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 รายด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของบริษัทผู้พัฒนาโครงการ เพื่อสรุปบทเรียนเป็นแนวทางที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ผู้พัฒนาโครงการมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการให้เป็นศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ โดย การเลือกทำเลที่ตั้ง ใกล้แหล่งชุมชนที่มีกำลังซื้อสูง สะดวกในการเข้าถึง ใกล้เส้นทางคมนาคมหลัก ความเหมาะสมของรูปแปลงที่ดิน คู่แข่งขัน และโอกาสการพัฒนาในอนาคต รวมถึงการใช้ผู้เช่าหลัก(Anchor Tenant)ที่ต้องการให้เป็นตัวดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาใช้ในพื้นที่โครงการ ประกอบกับการจัดที่จอดรถที่เพียงพอและสะดวกสบาย สำหรับโครงการเจ อเวนิว ตั้งอยู่ตรงหัวมุมซอยทองหล่อ 15 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS 1.5 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบเป็นที่พักอาศัยของชาวต่างชาติ ส่วนโครงการลาวิลล่า ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ติดกับรถไฟฟ้า BTS สถานีอารีย์ บริเวณโดยรอบเป็นอาคารสำนักงานและหน่วยงานของภาครัฐ รวมถึงอาคารชุดพักอาศัย แม้ว่าโครงการเจ อเวนิว จะไม่ได้ตั้งอยู่บนถนนสายหลักและอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS แต่กลับมีจำนวนผู้ใช้บริการมากกว่าโครงการ ลาวิลล่า เนื่องจากตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อยู่ในเส้นทางการเดินรถโดยสารสาธารณะ สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีป้ายโครงการขนาดใหญ่ที่ผู้สัญจรผ่านสังเกตเห็นได้ง่าย และกิจการร้านค้าต่างๆในพื้นที่โดยรอบส่งเสริมให้เกิดการใช้งานที่หลากหลายในพื้นที่โครงการ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการในโครงการสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ในวันหยุด โดยผู้ใช้บริการโครงการเจ อเวนิว เป็นผู้ที่พักอาศัยในบริเวณนั้น มาใช้บริการเพื่อรับประทานอาหารและพบปะสังสรรค์ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 501 – 1,000 บาทต่อครั้ง เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้เวลาในการเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนผู้ใช้บริการโครงการลาวิลล่าในวันธรรมดาเป็นคนทำงานในบริเวณนั้น และในวันหยุดเป็นผู้ที่พักอาศัยในพื้นที่ปริมณฑล มาใช้บริการเพื่อรับประทานอาหารและซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 501 – 2,000 บาทต่อครั้ง เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถไฟฟ้า BTS ใช้เวลาในการเดินทางไม่เกิน 30 นาที นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโครงการ 2 แห่งให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง ในขณะที่ให้ความสำคัญกับความเพียงพอของจำนวนที่จอดรถน้อยที่สุด โดยความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง ความสะดวกในการใช้ระบบขนส่งมวลชน ความสะดวกในการเดินทาง/ใกล้ถนนสายหลัก ที่ตั้งใกล้สถานที่ทำงาน/สถานศึกษาและที่พักอาศัย เป็นปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโครงการทั้ง 2 แห่งให้ความสำคัญแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโครงการลาวิลล่าให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าวมากกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโครงการเจ อเวนิว ดังนั้น ในการพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ การเลือกทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้พัฒนาโครงการควรพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน สามารถเข้าถึงโครงการได้สะดวกทั้งผู้ใช้พาหนะส่วนตัวและผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ประกอบกับการทำการศึกษาลักษณะประชากรและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจ
Other Abstract: A good location is one of the most important factors in the development of a community mall that is likely to expand continuously. This research aims to study the concept of project development, location and physical characteristics of a project, consumer behavior, and the location factors and how these affected user behavior. Two case studies were selected: J Avenue, Thonglor Soi 15, and La Villa Phahonyothin Project, which were similar in size and the scheme of each project, as well as have been developed and managed by the same entrepreneur. This research is empirical research by studying relevant documents, observing, counting, using questionnaires to survey user behavior of 300 samples, interviewing with the business development officer of the developer company, and summarizing the guidelines for investing in a community mall project in the future. The study indicated that the developer has the concept of developing the project to be a lifestyle shopping center. The main factors in the development of the project were as follows: the selection of a location near to target customers with high purchasing power; easy accessibility; proximity to major transport routes; suitability of the land plot, competitors; and prospects for future development, including the use of key tenants attracting consumers in the surrounding area; and adequate and comfortable parking arrangements. J Avenue is conveniently located on the corner of Soi Thonglor 15, 1.5 kilometers from the BTS Thonglor Skytrain Station, of which the surrounding area is a residential area popular with foreigners, whereas the La Villa Project is located on Phaholyothin Road, next to BTS Ari Station, of which the surrounding area includes office buildings and government agencies, as well as condominiums. Although the J Avenue project is not located on the main road and is away from the BTS sky train, it has more customers than the La Villa project for a number of reasons: the local heavily populated area, the public transit route, easily accessibility, a large visible project sign that passersby can easily see, and stores in the surrounding area promoting a variety of uses of the project area. Most respondents use the service one to two times a week on holiday. J Avenue customer are residents of the area, coming to eat and meet with an average expense of 501 - 1,000 baht per time. They tend to use a private car and take less than an hour to travel. On the other hand, La Villa customer on weekdays are workers in the area and residents in metropolitan areas on vacation and consequently come to eat and shop in the supermarket with an average expense of 501 - 2,000 baht per time. They tend to use a private car and BTS skytrain, and take up to 30 minutes to travel. In addition, it is found that the most important factor for the location is the suitability of the location, while the number of parking spaces is the least important factor. The appropriateness of the location, ease of use of mass transit systems, ease of access, closeness to the main road, including being near workplaces, schools, and residences, are the factors for the location that are significantly different. These differences are at the 0.05 level for the users in the two projects with La Villa’ s customers paying more attention to such factors than J Avenue’ s customers. Therefore, choosing a location that is appropriate for the target customer is a key factor in the development of a community mall project. Developers should consider a location near the community, as well as easy access to the project for both private and public transport users. In addition, the demographic and behavioral studies of target customers are detailed to use as important information to make decisions.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58360
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.187
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.187
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873348625.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.