Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58362
Title: การจัดการการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรม :กรณีศึกษา ชุมชนเกาะศาลเจ้า เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: MANAGEMENT OF CHANGE IN CULTURAL LANDSCAPE :A CASE STUDY OF KOH SAN CHAO COMMUNITY,TALING CHAN DISTRICT, BANGKOK
Authors: ศิวกร สว่างศรี
Advisors: วิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wimonrart.I@Chula.ac.th,wimonyui@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) เป็นพื้นที่ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่น โดยประสานการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งปรากฏในรูปของการดำเนินชีวิตที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา “ชุมชนเกาะศาลเจ้า” เป็นหนึ่งในพื้นที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนชาวสวนยกร่องฝั่งธนบุรีที่ยังคงเหลืออยู่ จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านต่าง ๆ ชุมชนดั้งเดิมจำนวนมากไม่สามารถรักษาวิถีชีวิตและพื้นที่ของตนเองไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ชุมชนจำนวนหนึ่ง ที่รวมถึงชุมชนเกาะศาลเจ้า มีความพยายามในการที่จะจัดการกับความเปลี่ยนแปลง ปรับตัวและแสวงหาอากาสใหม่ ๆ ตลอดจนแก้ไขปัญหา อันเกิดจากการสูญหายของพื้นที่เกษตรกรรมและถูกแทนที่ด้วยพื้นที่เมือง วิทยานิพนธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนเกาะศาลเจ้า และความสัมพันธ์กับความสามารถในการปรับตัวของชุมชน โดยการศึกษาจะมีการพิจารณาเรื่องการรวมกลุ่มทางสังคม และความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ วิธีวิจัยประกอบด้วย การลงพื้นที่ศึกษา การสัมภาษณ์สมาชิกในชุมชนในเชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง นอกจากนี้ กระบวนการศึกษายังประกอบด้วยการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนที่ และการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศ การวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ช่วยให้ชุมชนยังสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ ภายใต้แรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงของเมืองประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเครือญาติ และการเป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด การมีผู้นำชุมชนที่ดี การรวมกลุ่มองค์กรชุมชน และการสร้างข้อตกลงภายในชุมชนเพื่อจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าการปรับตัวของชุมชนส่งเสริมความสามารถในการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างไร การวิจัยได้จำแนกกลุ่มผู้อยู่อาศัยออกเป็น 5 กลุ่ม ตามลักษณะของระบบนิเวศ และทุนทางกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจ สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่แตกต่างกันในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร และสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ตามการปรับตัวของชุมชน ผลของการปรับตัวและความยืดหยุ่นของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมทางกายภาพ และชะลอปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพได้
Other Abstract: Cultural Landscape is the area that represents strong associations with well collaborative works between human interaction and natural environment, which appears in the form of dynamic local way of life. “Koh San Chao Community” is one of the remaining cultural landscapes of the grooved gardens in Thonburi Area. Due to the changes affecting by various factors, numerous traditional communities cannot maintain their way of life, nor protect their lands. However, some communities including Koh San Chao Community paid concerted efforts to manage change, adapt and search for new opportunities, and overcome the constraints caused by the lost agricultural lands replacing by urban areas. This dissertation aims to study the development of cultural landscape of Koh San Chao Community in relevance with community resilience. The study focuses on social cohesion and cooperation between various groups. The research methods comprise field area study and semi-structural in-depth interviews of community members. Moreover, the other imperative process includes reviews of relevant information, mapping, taking aerial photos. The research found that factors that assist the community to maintain local livelihood under the pressures from urban transformation include: strong relation between kinships and close-knitted community; good community leaders; formation of local groups; and proper community agreements to manage local resources. To gain more understanding on how community resilience support cultural landscape management, the research divided the local residents into five distinct groups based on ecological circumstances, as well as physical and socio-economic capitals. In brief, all groups showed different approaches in connecting social relation to exchange existing resources and create activities due to community adaptation. Consequently, community adaptation and community resilience tackle degradation problems and decelerate factors of socio-economic and physical changes.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58362
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1162
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1162
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873364625.pdf25.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.