Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58378
Title: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและคุณภาพชีวิตของหญิงหลังคลอดบุตรที่ได้รับการตรวจปัสสาวะในการรับควันบุหรี่มือสองระหว่างตั้งครรภ์
Other Titles: Postpartum Depression and Quality of Life in Postpartum Women who Received Urine Examination for Second-hand Smoke Exposure During Pregnancy
Authors: วรัญญา ทรัพย์เจริญ
Advisors: รัศมน กัลยาศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Rasmon.K@Chula.ac.th,rasmon.k@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและคุณภาพชีวิตของหญิงหลังคลอดบุตรที่ได้รับการตรวจปัสสาวะในการรับควันบุหรี่มือสองระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและคุณภาพชีวิต ของหญิงหลังคลอดบุตร ที่มารับบริการตรวจรักษาหลังคลอดในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอดที่แผนกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่เคยได้รับการตรวจปัสสาวะในการได้รับควันบุหรี่มือสองระหว่างการตั้งครรภ์ จำนวนทั้งสิ้น 106 ราย โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านสุขภาพ การตั้งครรภ์และการคลอด และข้อมูลด้านการได้รับควันบุหรี่มือสอง) 2) เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย 3) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าหลังคลอดฉบับภาษาไทย ใช้จุดตัดคะแนนที่ 11 4) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม 5) แบบบันทึกข้อมูลด้านทารกโดยผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก และ 6) ชุดตรวจ Direct Barbituric Acid (DBA) Method วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square Test, Independent sample t-test One-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบหญิงหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร้อยละ 5.7 และมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี (ร้อยละ 68.9) เมื่อแบ่งรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตที่ดี (ร้อยละ 63.2 ร้อยละ 76.4 และร้อยละ 52.8 ตามลำดับ) และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.0) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ตนเอง ความเพียงพอของรายได้ ความพร้อมในการมีบุตรครั้งนี้ ระยะเวลาโดยรวมที่ได้รับควันบุหรี่ การทราบถึงอันตรายที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่ แรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ การทราบถึงอันตรายที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่ ความถี่ของการได้รับควันบุหรี่ และแรงสนับสนุนทางสังคม สำหรับปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยทั้ง 2 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ร้อยละ 17.8 ส่วนปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยทั้ง 2 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ร้อยละ 55.3
Other Abstract: The aims of this cross-sectional descriptive study were to study postpartum depression, quality of life and related factors of among postpartum women who were received urine examination for second-hand smoke exposure during pregnancy. The data were collected from 106 postpartum women by 1) Demographic questionnaire, 2) WHOQOl-BREF-THAI, 3) Thai version Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) with the cut point of 11 was to identify cases of postpartum depression, 4) The Personal Resource Questionnaire (PRQ Part-II), 5) Newborn health and 6) Direct barbituric acid (DBA)method and analyzed by Descriptive Statistics, Chi-square Test, Independent sample t-test One-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient and Multiple Linear Regression Analysis. The result showed the prevalence of postpartum depression according to EPDS Thai version was 5.7 percent. The overall of quality of life was well-being level (68.9 percent) categorized as physical health, psychological and social relationships was well-being level (63.2, 76.4 and 52.8 percent) and environment was moderate level (50.0 percent). The significantly related factors with postpartum depression were individual income, sufficient income, unintended pregnancy, period of second-hand smoke (SHS) exposure, knowledge about second-hand smoke (SHS) effects, social support and quality of life. The significantly related factors with overall of quality of life were sufficient income, knowledge about second-hand smoke (SHS) effects, frequency of second-hand smoke (SHS) exposure and social support. The significantly predictive factors with postpartum depression were sufficient income and social support, the predictive power was 17.8 percent. And quality of life were social support and postpartum depression, the predictive power was 55.3 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58378
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874066830.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.