Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5845
Title: การใส่ลายน้ำในรูปภาพแบบไม่ใช้ต้นฉบับในการตรวจสอบโดยใช้ การเข้ารหัสแก้ไขความผิดพลาดแบบเทอร์โบ
Other Titles: Blind image watermarking using turbo error correcting code
Authors: วิทิต พงศ์พิโรดม
Advisors: สุวิทย์ นาคพีระยุทธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: nsuvit@chula.ac.th
Subjects: ภาพพิมพ์ลายน้ำ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิธีการฝังข้อมูลลงในรูปภาพแบบ Public watermarking ซึ่งสามารถดึงข้อมูลจากลายน้ำโดยไม่ใช้รูปต้นฉบับได้ และนำรหัสเทอร์โบมาช่วยในการแก้ไขบิตที่ผิดพลาด ขั้นตอนการตรวจจับจะนำเอาเทคนิคของ image restoration มาใช้ในการประมาณรูปต้นฉบับ การฝังลายน้ำจะฝังในโดเมนของการแปลงโคซายน์ งานวิจัยยังได้หาวิธีกำหนดช่วงสัมประสิทธิ์ที่เหมาะสม ในการฝังลายน้ำของแต่ละรูปที่ระดับการมองเห็นเดียวกัน และทดสอบความทนทานของลายน้ำซึ่งเป็นการนำรูป ที่ผ่านการฝังลายน้ำไปเปลี่ยนแปลงให้ต่างจากเดิมด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตรวจจับลายน้ำ ในการทดสอบความทนทานแต่ละวิธีจะหาจำนวนบิต ที่สามารถฝังลงไปได้มากที่สุดที่อัตราความผิดพลาดของบิตไม่เกิน 10 -3 งานวิจัยนี้พบว่ารหัสเทอร์โบสามารถนำมาแก้ไขบิต ที่ผิดพลาดได้เป็นอย่างดีโดยสามารถเพิ่มจำนวนบิตได้มากกว่า 3 เท่าขึ้นไปเมื่อเทียบกับกรณีไม่มีการเข้ารหัสหรือใช้รหัสแฮมมิง (7, 4) แทนการเข้ารหัสเทอร์โบ เนื่องจากรหัสเทอร์โบทำงานได้ดี สำหรับสัญญาณที่มี SNR ต่ำมากซึ่งการใส่ลายน้ำมีลักษณะเช่นนี้
Other Abstract: Studies how to embed information into image using public watermarking, where bit can be extracted without original image. Turbo code was used for bit error correction. Image restoration technique was used to estimate the orginal image for extracting information bits. Information bits were embeded in DCT domain. This research also investigated the method to determine the optimum range of zigzag DCT coefficients to be embedded for each image at the same visibility level. The watermarking robustness for various image processing methods was tested and the maximum embedded bits at 10 -3 bit error rate was found. The turbo code can increase the maximum number of embedded bits more than 3 times when compared to the cases of no coding and using Hamming code (7, 4) instead of Turbo code. This is because the turbo code is more efficient at low SNR level and image watermarking is usually under this condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5845
ISBN: 9743472053
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vitid.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.