Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58498
Title: อิทธิพลของงานภูมิทัศน์เมืองในทวีปยุโรป ที่มีผลต่อภูมิทัศน์เมืองบางกอกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
Other Titles: THE INFLUENCE OF EUROPEAN URBAN LANDSCAPE ON BANGKOK URBAN LANDSCAPE DURING THE REIGN OF KING CHULALONGKORN (RAMA V)
Authors: จิดาภา โชติดิลก
Advisors: นวณัฐ โอศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Navanath.O@Chula.ac.th,nosoas@yahoo.com,nosoas@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาอิทธิพลของงานภูมิทัศน์เมืองในทวีปยุโรป ที่มีต่อภูมิทัศน์เมืองบางกอก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการนำงานภูมิทัศน์เมืองยุโรปมาปรับใช้กับเมืองบางกอก โดยทำการคัดเลือกงานภูมิทัศน์เมืองยุโรป ที่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นต้นแบบของภูมิทัศน์เมืองบางกอก แล้วนำมาวิเคราะห์รูปแบบการวางผัง การออกแบบ และองค์ประกอบ เพื่อเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการปฏิรูปราชธานีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว งานวิจัยใช้การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับคำจำกัดความ หลักการวิเคราะห์ภูมิทัศน์เมือง ทฤษฎีการออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม และข้อมูลประวัติศาสตร์เบื้องต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย ทำการรวบรวมรายชื่องานภูมิทัศน์เมืองยุโรปและงานภูมิทัศน์เมืองบางกอก ซึ่งแบ่งงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สวน ถนน และลานกว้าง ตามทฤษฎีทางภูมิทัศน์เมือง และดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของงานภูมิทัศน์เมืองในทวีปยุโรปที่ปรากฎในงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ จดหมายเหตุประพาสยุโรป หรือพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์อิทธิพลที่มีต่องานภูมิทัศน์เมืองบางกอกที่สร้างขึ้นภายหลังการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2440) จนถึงสิ้นสุดรัชกาล (พ.ศ.2453) โดยใช้ทฤษฎีการออกแบบงานภูมิทัศน์เมืองเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า งานภูมิทัศน์เมืองบางกอกในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีต้นแบบจากงานภูมิทัศน์เมืองในทวีปยุโรปแห่งใดแห่งหนึ่งโดยตรง แต่เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำงานภูมิทัศน์เมืองในทวีปยุโรปมาปรับใช้ เนื่องจากพระองค์ทรงคำนึงถึงความเหมาะสมของเมืองบางกอกเป็นหลัก เพื่อให้เข้ากับลักษณะของเมืองทั้งในด้านกายภาพ และด้านสังคม ส่งผลให้งานภูมิทัศน์เมืองบางกอก ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างนั้น เป็นสถานที่สำคัญอันเป็นที่เชิดหน้าชูตาของสยามประเทศถึงปัจจุบัน
Other Abstract: The objective of this research is to study the European influences on Bangkok urban landscape in the reign of His Majesty King Chulalongkorn (Rama V) and his design adaptation by analyzing selected European urban landscape cases that might act as an inspiration for Bangkok urban landscape. The research method uses initial literature review towards urban landscape theories and history of King Chulalongkorn in order to define the scope of study, and to list European urban landscape cases appeared in royal writings, archives and other historical evidences that may inspire Bangkok urban landscape built between His Majesty’s first visit to Europe (1897) and the end of his reign (1910). The analysis divided into three categories: parks, avenues and plazas, using urban landscape theories as a tool to indicate which work acted as an inspiration to Bangkok urban landscape, and how His Majesty implemented them. The result shows that none of Bangkok urban Landscape works had a sole apparent prototype. Rama V had deliberately considered Bangkok’s conditions, selected the elements that are physically and socially compatible and combined them together in design details. Until nowadays, Rama V’s Bangkok urban landscape works are still remarkably Bangkok’s masterpieces.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58498
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.737
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.737
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973334925.pdf10.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.