Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58515
Title: | พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน |
Other Titles: | Chinese tourists’ purchasing behavior on Thai snack as souvenir |
Authors: | ศศินิภา ดุสิตานนท์ |
Advisors: | ธาตรี ใต้ฟ้าพูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.com |
Subjects: | ของที่ระลึก พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารทางการตลาด Souvenirs (Keepsakes) Consumer behavior Communication in marketing |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด และพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 2) ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด และพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 3) การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน 4) การสื่อสารทางการตลาดแต่ละองค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยของนักท่องเที่ยวจีน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัย พบว่า 1) ช่องทางการสื่อสารที่เปิดรับมากที่สุด คือคนใกล้ชิด รองลงมา คือโทรทัศน์ ขณะที่พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์สามอันดับแรก คือการหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการดูภาพและอ่านข้อความทั้งหมด ในส่วนของทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบให้ของฝากประเภทขนมไทยมีความเป็นไทย บรรจุภัณฑ์ที่ระบุคำว่าประเทศไทย และมีคำอธิบายเป็นภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ วิธีการจ่ายเงินที่มีความสะดวก ราคาที่สมเหตุสมผล การซื้อจากศูนย์การค้า การซื้อจากสถานที่ขายที่มีความสะดวกและง่ายต่อการเดินทาง พนักงานขายที่พูดภาษาจีนได้ ยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพอ่อนน้อม และมีจรรยาบรรณ พฤติกรรมการซื้อที่พบมากที่สุดสองอันดับแรก คือการชำระสินค้าด้วย Alipay และ Wechat Pay 2) ลักษณะทางประชากรต่างกัน การเปิดรับ ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ขณะที่ลักษณะทางประชากรต่างกัน พฤติกรรมการซื้อไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อายุต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและในภาพรวมแตกต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน มีการเปิดรับสื่อแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดด้านความต้องการของผู้บริโภค ด้านค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคยอมรับ ด้านการสื่อสาร และในภาพรวมมากกว่าเพศชาย 3) ทัศนคติต่อการสื่อสารทางการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยมากกว่าการเปิดรับ 4) การสื่อสารทางการตลาดด้านความต้องการของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของฝากประเภทขนมไทยมากที่สุด รองลงมา คือด้านค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคยอมรับ ด้านการสื่อสาร และด้านความสะดวกในการซื้อ |
Other Abstract: | The objectives were to explore: 1) Chinese tourists’ media exposure, attitude towards MarCom and purchasing behavior regarding Thai snack as souvenir; 2) the differences between the demographic characteristics and Chinese tourists’ media exposure, attitude toward MarCom and purchasing behavior regarding Thai snack as souvenir; 3) the effects of Chinese tourists’ media exposure and attitude towards MarCom regarding their purchasing behavior towards Thai snack as souvenir; and 4) the effects of MarCom regarding Chinese tourists’ purchasing behavior towards Thai snack as souvenir. The subjects of this quantitative study comprised 400 Chinese tourists. The findings revealed the following: 1) The communication channel that exposed to most was those close to them. They used social media to search for information the most. They liked the Thainess, packages with the word ‘Thailand’ along with Chinese or English translations, convenient means of payment, reasonable prices, being able to buy the souvenirs at shopping centers, shopping assistants capable of speaking Chinese, and pleasant and ethical shopping assistants. Most of them preferred to pay for the souvenirs through Alipay and Wechat Pay. 2) The demographic characteristics differed while the media exposure and attitude towards MarCom did not differ for the most part. Their purchasing behavior was the same. Since their ages differed, their media exposure behavior and overall media exposure differed. In addition, due to their different educational backgrounds, their media exposure differed. Females ranked attitude towards MarCom higher than the males, except for purchasing convenience. 3) Attitude towards MarCom played a more important role in buying the snack than media exposure. 4) In terms of the elements of MarCom, the customer’s needs and wants influenced their purchasing behavior the most, followed by cost to customer, communication and convenience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58515 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.933 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.933 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5984675728.pdf | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.