Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58538
Title: การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระหว่างโรงเรียนที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมินในรอบที่ 2 : พหุกรณีศึกษา
Other Titles: A comparative study of the internal institution quality assurance processes between qualified and unqualified schools in the second evaluation : a multiple case study
Authors: อรจิรา ธรรมไชยางกูร
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Advisor's Email: Siripaarn.S@Chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียน -- การบริหาร
การศึกษา -- การควบคุมคุณภาพ
School management and organization
Education -- Quality control
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 และปัจจัยสนับสนุนกระบวนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 2) ศึกษากระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 3) เปรียบเทียบกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 รวมทั้งปัจจัยที่ส่งเสริม และปัญหาอุปสรรคในการทำการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพหุกรณีศึกษา 4 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โรงเรียนที่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 ดำเนินการครบตามกระบวนการประกันคุณภาพครบ 3 ด้าน คือ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ ปัจจัยส่งเสริม คือ ความตั้งใจในการทำงาน การเข้ารับการฝึกอบรมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอของบุคลากร และความมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการของผู้บริหาร 2. โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 มีการดำเนินงานไม่ครบตามการกระบวนการประกันคุณภาพ 3 ด้าน กล่าวถึงด้านการควบคุมคุณภาพ ขาดการจัดทำธรรมนูญโรงเรียนและแผนพัฒนาคุณภาพประจำปี ทั้งยังขาดการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารการจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนอุปสรรคเกี่ยวข้องกับ การไม่ได้รับการพัฒนาในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของบุคลากร และระบบการบริหารงานของโรงเรียน แนวทางแก้ไข ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมภาวะผู้นำของผู้บริหารในการบริหารงานของโรงเรียนตามระบบวงจรคุณภาพ PDCA และการส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยการเข้าร่วมการอบรมและการทำวิจัยชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการนำวิธีการสอนใหม่ๆ มาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเอง 3. สิ่งปฏิบัติที่เหมือนกันในโรงเรียนที่ผ่านและโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินภายนอกในรอบที่ 2 คือ ในด้านการควบคุมคุณภาพ มีการยึดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก และด้านการตรวจสอบคุณภาพ มีการตรวจสอบผลการประเมิน มีเครื่องมือประเมินผู้เรียนที่ได้มาตรฐาน มีการรายงานการพัฒนาคุณภาพต่อต้นสังกัด มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งสิ่งปฏิบัติที่ต่างกัน คือ ดำเนินการตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน
Other Abstract: This study objectives were 1) to study the quality assurance process and supportive factors within schools which had passed the second round of the external evaluation 2) to study the quality assurance process within schools which had not passed the second round of the external evaluation, focusing on problems and obstacles throughout the processes of quality assurance 3) to compare and contrast the process of quality assurance between schools which had passed the second round in order to analyze factors, difficulties and obstacles of the process. The qualitative research method was used in studying four schools. The data were collected by means of participant and non-participant observation, interviewing and document analysis. The results were as follow: 1. The schools which had passed the quality assurance external evaluation the second round conducted three main strategies. They were quality control, quality audit and quality assessment. Work attention and continuation of instructional training of school personnel, and leadership of the school executives were supportive factors in the processes. 2. The schools which had not passed the quality assurance external evaluation the second round did not conduct all the three main strategies. The most incomplete strategy was quality control, Although, quality audit was conducted, information technology and measurement methods had not been used in school management. The obstacles were lack of instructional training of school personnel and school management system. Solutions for improvement ought to improve leadership role and PDCA cycle in school administration. Also, teachers and school personnel, ought to be supported to do classroom research for solving problems, instructional development and bring in educational innovation and new teaching methods into their classes. 3. The comparison between qualified and unqualified schools showed some similarity in the processes. They were holding to basic educational standards in quality control, inspecting results from former evaluation in quality audit, using proper standardized instruments to evaluate students, and continuously reporting the overall achievements. However the difference was that the non-qualified schools had not been able to compute all the three quality assurance's processes in their internal evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58538
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.293
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.293
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onjira Tumchaiyangkul.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.