Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58718
Title: การยอมรับและความเชื่อถือข่าวบันเทิงในสื่อสิ่งพิมพ์
Other Titles: Acceptance and credibility of entertainment news in printed media
Authors: ธรรณพ ศิริธรรมวิไล
Advisors: รุ่งนภา พิตรปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rungnapar.P@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
ความเชื่อถือได้
ข่าวหนังสือพิมพ์
Reporters and reporting
Reliability
News
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง "การยอมรับและความเชื่อถือข่าวบันเทิงในสื่อสิ่งพิมพ์" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการออกแบบสารเพื่อการประชาสัมพันธ์สำหรับข่าวบันเทิงที่จะทำให้ผู้รับสารมีการยอมรับและความเชื่อถือข่าวบันเทิงในสื่อสิ่งพิมพ์ โดยการศึกษาจะเป็นการศึกษาจากทั้งมุมมองของนักประชาสัมพันธ์ในสายงานบันเทิง นักข่าวสายบันเทิง และประชาชนทั่วไป ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 2 ขั้นตอน คือ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกนักประชาสัมพันธ์สายงานบันเทิง จำนวน 6 ท่าน จาก 6 บริษัท และนักข่าวสายงานบันเทิง จำนวน 2 ท่าน จาก 2 บริษัท จากนั้นจึงทำการสนทนากลุ่มกับประชาชนทั่วไป จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ท่าน รวมทั้งหมด 24 ท่าน ใช้การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการทำข่าวประชาสัมพันธ์สำหรับข่าวบันเทิงที่จะทำให้ผู้รับสารมีการยอมรับและความเชื่อถือข่าวบันเทิงในสื่อสิ่งพิมพ์นั้น คือ การทำให้ข่าวที่นำเสนอมีความน่าสนใจและมีเนื้อหาเป็นไปตามความเชื่อที่มีอยู่เดิมของผู้รับสารที่มีต่อศิลปินในข่าว ซึ่งสาระสำคัญในการสร้างการยอมรับและเชื่อถือสามารถสรุปได้เป็น 7 ประการ ดังนี้ 1) นักประชาสัมพันธ์ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานในระดับบริหาร 2) นักประชาสัมพันธ์ต้องดูแลภาพลักษณ์ของศิลปินให้ชัดเจนคงที่ และต้องมีส่วนร่วมในการทำงานของศิลปินในทุกขั้นตอน 3) นักประชาสัมพันธ์ต้องมีการวางแผนสื่อให้เหมาะสม 4) การเสนอข่าวประชาสัมพันธ์ต้องมุ่งเน้นการแจ้งให้ทราบถึงใจความสำคัญ และคำนึงถึงจริยธรรม 5) นักประชาสัมพันธ์ต้องเสนอข่าวโดยใช้องค์ประกอบที่ทำให้ข่าวมีคุณค่า 6) นักประชาสัมพันธ์ต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้ประชาชนเกิดการยอมรับและเชื่อถือข่าวบันเทิง 7) นักประชาสัมพันธ์ต้องติดตามการยอมรับ และความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่ได้นำเสนอไปอยู่ตลอดเวลา
Other Abstract: This research is to examine the way to design the message of the entertainment news to create acceptance and credibility of people in the news. The study was conducted by applying qualitative research methods. The qualitative research was conducted by in-depth interview with 6 public relations managers or officers in 6 companies in entertainment field, 2 entertainment news editors in 2 entertainment printed media companies. An addition one was conducted by focus group discussion with 24 people that divide in 3 groups. The research result was present by descriptive analysis. The research result showed that the way to make acceptance and credibility of entertainment news is to public the entertainment news that more interesting and match to the accumulative believe about the artists of the audience that comprise of 7 important things as follows : 1) PR officers must join in management team to specify positioning and image of the artist. 2) PR officers must look after and protect the specified image of the artist and join every artist's activities. 3) PR officers must plan to use media cleverly. 4) Press release must written for inform the interesting essence and written with moral concern. 5) PR officers must use the entertainment news value factors. 6) PR officers' work must focus on the factors tha~ create the acceptance and credibility of the audiences. 7) PR officers must evaluate the pres: release acceptance and credibility regularly.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58718
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.665
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.665
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thannop Sirithamwilai.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.