Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58740
Title: การใช้วัสดุเชิงประกอบไคโตซานและมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรเป็นตัวดูดซับสีย้อมรีแอกทีฟ
Other Titles: Utilization of chitosan/modified montmorillonite composite as reactive dye adsorbent
Authors: ปณิดา การสมวรรณ
Advisors: สิริวรรณ กิตติเนาวรัตน์
นันทนา จิรธรรมนุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.K@Chula.ac.th
Nantana.Ji@Chula.ac.th
Subjects: ไคโตแซน
มอนต์มอริลโลไนต์
อุตสาหกรรมฟอกย้อม
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ
Chitosan
Montmorillonite
Textile industry
Sewage -- Purification -- Biological treatment
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมสายโซ่ไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ กันจากปฏิกิริยาการไฮโดร- ลิซิสด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 และ 15 โดยปริมาตร และใช้เวลาใน การไฮโดรลิซิส 6 และ 24 ชั่วโมง ผลของการทำปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสจะได้ไคโตซานที่มีค่าน้ำหนักโมเลกุล เฉลี่ยเชิงน้ำหนักแตกต่างกันที่ 480000, 130000, 69000 และ 14000 ตามลำดับ หลังจากนั้นนำสายโซ่ ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ มาทำการดัดแปรมอนต์มอริลโลไนต์ จากผลการทดลองพบว่าการแยก ชั้นผลึกของมอนต์มอริลโลไนต์ด้วยไคโตซานที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ แยกชั้นผลึกของมอนต์มอริลโลไนต์ ได้ไม่มากนัก จึงได้มีการใช้สารออกตะเดซิลเอมีนมาช่วยในการดัดแปรร่วมกับสายโซ่ไคโตซานที่น้ำหนัก โมเลกุลต่างๆ ผลการทดลองพบว่ามอนต์มอริลโลไนต์ที่ผ่านการดัดแปรด้วยออกตะเดซิลเอมีนและสายโซ่ ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลที่ 69000 สามารถแยกชั้นผลึกของมอนต์มอริลโลไนต์ได้มากที่สุด นำเอามอนต์ มอริลโลไนต์ที่ผ่านการดัดแปรด้วยออกตะเดซิลเอมีนและสายโซ่ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุล 69000 มาผสม กับไคโตซานในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อเตรียมเป็นเม็ดวัสดุเชิงประกอบสำหรับใช้เป็นตัวดูดซับสีย้อม รีแอกทีฟ จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นของมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรในเม็ดวัสดุเชิงประกอบ ค่าความเป็นกรด-เบสในช่วง 4-6 และปริมาณของตัวดูดซับที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับสี ย้อมรีแอกทีฟที่ดีขึ้น ส่วนผลการศึกษาไอโซเทิร์มของกระบวนการดูดซับสีย้อมรีแอกทีฟด้วยเม็ดวัสดุ เชิงประกอบไคโตซานและมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรสอดคล้องกับทั้งสมการของแลงเมียร์และฟรุนดลิช
Other Abstract: In this study, different molecular weights of chitosan were prepared by hydrolysis reaction with hydrogenperoxide 4% and 15 %(v/v) for 6 and 24 hours. Hydrolyzed chitosan with different molecular weights obtained from the hydrolysis reaction were 480000, 130000, 69000 and 140000 respectively. Hydrolyzed chitosan with different molecular weights were used to modify Montmorillonite (MMT). The results found that interlayer of modified MMT slightly increased. In addition, octadecylamine was used to enhance the interlayer separation of MMT. The results found that using octadecylamine and hydrolyzed chitosan at molecular weight 69000 imparted highest interlayer separation. As a result, modified MMT using octadecylamine and hydrolyzed chitosan at molecular weight 69000 was used to prepare chitosan/modified MMT composites with various ratios of chitosan and modified MMT. The composites were used as reactive dye adsorbents. The results showed that at pH of dye solution in range 4-6, increasing modified MMT ratio and amount of adsorbent improved the reactive dye adsorption efficiency. Moreover, the adsorption isotherm of dye adsorption followed both the Langmuir and Freundlich models.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58740
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.16
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.16
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panida Kansomwan.pdf14.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.