Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58874
Title: ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความสุขของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
Other Titles: The spiritual well-being and happiness in the elderly at Ban Bangkhae Social Welfare Development Center
Authors: ชินัณ บุญเรืองรัตน์
Advisors: พวงสร้อย วรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: puangsoy@md.chula.ac.th
Subjects: ความสุข
ผู้สูงอายุ -- จิตวิทยา
ชีวิตทางจิตวิญญาณ
บ้านบางแค
Happiness
Older people -- Psychology
Spiritual life
Ban Bangkhae
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความสุข ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุก จิตวิญญาณและความสุขของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ด้วยวิธีการเก็บกลุ่มตัวอย่างทุกรายที่สามารถเข้าร่วมการวิจัยได้ โดยมีเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งคัดเข้าและคัดออก เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ใช้เครื่องมือ ทั้งหมด 5 ชุดดังนี้ 1.แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2.แบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ (Spiritual Well-Being Scales) 3.แบบวัดความสุขคนไทย ฉบับ15ข้อ (TH-15) 4.แบบคัดกรอง ภาวะสมองเสื่อม(Thai Mental Status Exam) 5.แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า(Thai Geriatric Depression Scales) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติ ไคสแควร์, การหาค่าสัมประสิทธิ์ เพียร์สัน, การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความผาสุกทางจิตวิญญาณและด้านความสุข อยู่ใน ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 64.5 และ 37.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผาสุกทางจิต วิญญาณพบว่า ผู้ที่มีอายุน้อยมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าผู้ที่มีอายุมาก, ผู้ที่มีโรค ประจำตัวมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว, ลักษณะที่พักพบว่าผู้ที่อาศัย อยู่รวมกันมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าอยู่เพียงลำพัง และการเข้าร่วมกิจกรรมพบว่าผู้ที่เข้า ร่วมกิจกรรมมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม มีความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05, .05 และ .05 ตามลำดับ ด้านความสุขพบว่า อายุคือผู้ที่มีอายุ มากมีความสุขมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย และ ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวมีความสุขมากกว่าผู้ที่มีโรค ประจำตัว เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายความผาสุกทางจิตวิญญาณได้คือ อายุ (.029) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ด้านความสุขปัจจัยที่สามารถทำนายได้คือ โรคประจำตัว (.048) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ความผาสุกทางจิตวิญญาณและความสุขในผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก (r = .439) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001
Other Abstract: This is cross-sectional study. It was to study the level of spiritual well-being (SWB), happiness, coordinated factors and compares the correlation outcome between spiritual well-being and happiness in the elderly at Ban Bang Khae Social Welfare Development Center. Elderly were not been sampling. Everyone, who meets the included and excluded criteria, can be selected. 200 Elderly met the study criteria. Five questionnaires were used to identify demographic data, Spiritual Well-Being Scales and Thai happiness indicators (TH-15). Thai Mental Status Exam (TMSE) and Thai Geriatric Depression Scales (TGDS) were used to screen the elderly. All data were counted and analyzed by Chi-square, Regression and Pearson’s Correlation. The results showed that almost of elderly spiritual well being, the prevalence of medium level of SWB and Happiness are 64.5% and 37.5% respectively. Four factors which related significantly to SWB are age; the younger have higher SWB level than the older, underlining disease; elderly, who have underlining disease have higher SWB level than an others, household; elderly who live together have higher SWB level than those who live privacy., and activity participation; elderly who joins activity have higher SWB level. They showed significant at level .01, .05, .05 and .05 respectively. Two factors which related to happiness are age; the older have higher happiness level., and underlining disease; elderly, who have no underlining disease have higher happiness level., significantly. They showed significant at level .01and .05 respectively. Age is the predictor of SWB (.029). This is significant at level .05. Underlining disease is the predictor of happiness (.048). This is significant at level .01. SWB and happiness in this studied showed positive correlated (r = .439) significantly at level .001.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58874
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.770
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.770
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChinunBoobroungrut.pdf773.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.