Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58920
Title: โมเดลตัวแปรส่งผ่านหรือตัวแปรกำกับของลักษณะงานและรูปแบบชีวิต ในการอธิบายอิทธิพลของระดับการศึกษาที่มีต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง
Other Titles: A mediator or moderator model of job characteristics and life styles explaning the effects of educational on self-reported health level
Authors: ทัศนีย์ นิลสูงเนิน
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การประเมินตนเอง -- แง่อนามัย
สุขภาพ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Self-evaluation -- Health aspects
Health -- Mathematical models
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาตัวแปรรูปแบบชีวิตในฐานะที่เป็นตัวแปรส่งผ่านหรือตัวแปรกำกับ ศึกษาตัวแปรลักษณะงานในฐานะที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน และ ทดสอบเปรียบเทียบโมเดลตัวแปรส่งผ่านหรือตัวแปรกำกับ ในการอธิบายอิทธิพลของระดับการศึกษาที่มีต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัท ไพรม์บ๊อกซ์ เอ็มเอฟจี จำกัด เฉพาะฝ่ายผลิต 4 กลุ่ม คือ กลุ่มงานเตรียมส่วนประกอบ งานประกอบชิ้นส่วน งานตกแต่งผลิตภัณฑ์ งานควบคุมและบรรจุผลิตภัณฑ์ จำนวน 406 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบโมเดลอิทธิพลตัวแปรส่งผ่าน (mediation model) และอิทธิพลของตัวแปรกำกับ (moderator model) ในการอธิบายอิทธิพลของระดับการศึกษาต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่านลักษณะงานและรูปแบบชีวิต ที่มีอิทธิพลต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง ผลการวิเคราะห์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 83.743 ที่องศาอิสระ 86 มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.549 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.978 ค่า RMR เท่ากับ 0.0145 ผลการวิเคราะห์แสดงความสัมพันธ์ในรูปอิทธิพลส่งผ่านจากตัวแปรระดับการศึกษาที่สำเร็จผ่านตัวแปรลักษณะงานและรูปแบบชีวิตต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง โดยตัวแปรลักษณะงานมีอิทธิพลมากกว่ารูปแบบชีวิต 2. ผลการวิเคราะห์ตัวแปรกำกับรูปแบบชีวิต ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง เป็นการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์ในเมทริกซ์พารามิเตอร์ 8 เมทริกซ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า พารามิเตอร์ทั้ง 8 เมทริกซ์ มีรูปแบบและสถานะแบบเดียวกัน แต่ค่าพารามิเตอร์แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มพนักงานที่มีรูปแบบชีวิตในระดับสูงและต่ำ นั่นคือตัวแปรรูปแบบชีวิตเป็นตัวแปรกำกับในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระดับสุขภาพตามการรายงานตนเองตามกรอบแนวคิด ทำหน้าที่เป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลของระดับการศึกษาที่มีต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง 3. ผลการเปรียบเทียบโมเดลตัวแปรส่งผ่านและโมเดลตัวแปรกำกับของรูปแบบชีวิต ในการอธิบายอิทธิพลของระดับการศึกษาที่มีต่อระดับสุขภาพตามการรายงานตนเอง พบว่า ทั้งสองโมเดลมีความตรงค่อนข้างดี โดยโมเดลตัวแปรส่งผ่านมีความตรงสูงกว่าเล็กน้อย และให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงกว่าโมเดลตัวแปรกำกับของรูปแบบชีวิต
Other Abstract: This research aimed to study and explore the lifestyle variable as a mediator or moderator, the job characteristics variable as a mediator, and to compare the mediating model with the moderating model in explaining the effects of education level on self-reported health levels. The research sample consisted of 406 workers of the Prime Box M.F.G. Company Limited, all of whom working in the four production departments, namely: the part preparation section, the resembling section, the decorating section, and the control and packaging section. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed using correlational analysis confirmatory factor analysis and the analysis of LISREL model. The analysis techniques for the mediating model and the moderating model were also employed to explain the effects of education level on self-reported health levels. The major research findings were as follows: 1. The analysis results of the mediating model of job characteristics and lifestyles in explaining the effects of education level on self-reported health levels, revealed that the model was fit to the empirical data with chi-square = 83.743, df = 86, p = 0.549, GFI = 0.987, RMR = 0.0145. The analysis results revealed the relationships in terms of the indirect effects of educational level via job characteristics and lifestyles on self-reported health levels, where the job characteristics had higher effects than the lifestyle. 2. The analysis of lifestyle as the moderator in the causal relationship model of self-reported health levels was the analysis of the invariance of parameters in the 8 parameter matrices. The analysis results indicated that all 8 parameter matrices had the same form and mode, but they varied across the groups of workers having low and high level of lifestyles. It implied that lifestyle was a moderator in the causal relationship model of self-reported health levels based on the conceptual framework, and moderated the effects of education level on self-reported health levels. 3. The comparison of the mediating model with the moderating model of lifestyle in explaining the effects of education level on self-reported health levels, revealed that both models were quite valid, and the mediating model was more valid and yielded higher effects than the moderating model of lifestyle.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58920
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.260
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.260
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tussanee Nilsoongnoen.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.