Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58
Title: การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดเส้นทางเดินรถเก็บขนขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Application of geographic information system for solid waste collection routing in Laemchabang Municipality, Changwat Chon Buri
Authors: วนิดา ร่มรื่น, 2520-
Advisors: ดุษฎี ชาญลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: prcrtsd@yahoo.com
Subjects: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--ไทย--ชลบุรี
การกำจัดขยะ--ชลบุรี
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
การวิเคราะห์ข่ายงาน (การวางแผน)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จัดทำระบบฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์และกำหนดเส้นทางเดินรถเก็บขนขยะมูลฝอย ที่เหมาะสมและมีระยะการเดินทางสั้นที่สุด พร้อมทั้งศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโครงข่าย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มด้วยการศึกษาการดำเนินงานด้านการเก็บขนขยะมูลฝอย และรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูล ระบบเก็บขนขยะมูลฝอย แบ่งออกเป็น 2 ระบบคือระบบเก็บขนขยะมูลฝอยแบบถังเคลื่อนที่ และระบบเก็บขนขยะมูลฝอยแบบถังคงที่ ขั้นตอนการวิเคราะห์เริ่มจากการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้รถแต่ละคัน การเก็บขนมูลฝอยในระบบถังเคลื่อนที่จะพิจารณาความสมดุลของจำนวนเที่ยว ของการเดินทางเก็บขนขยะมูลฝอยต่อสัปดาห์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งวิเคราะห์โดยการปรับเทียบค่าในตารางข้อมูลตามลักษณะ ส่วนการเก็บขนขยะมูลฝอยในระบบถังคงที่จะใช้ปริมาณขยะมูลฝอยต่อวัน เป็นเกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้คำสั่ง ALLOCATE ในมอดูล ARCPLOT ของโปรแกรม Arc/Info เมื่อแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดเส้นทางเดินรถด้วยฟังก์ชัน Find Best Route ของโปรแกรม ArcView Network Analyst และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตาราง แผนที่ และรายงานเส้นทางการเก็บขนขยะมูลฝอย การประมวลผลในระบบเก็บขนขยะมูลฝอยแบบถังเคลื่อนที่ ด้วยการวิเคราะห์แบบตารางทำให้ทราบว่า รถแต่ละคันมีระยะทางการเก็บขนขยะใกล้เคียงกันมาก คือ 615.1 และ 617.6 กิโลเมตรหรือ 33 เที่ยวต่อสัปดาห์ สำหรับการกำหนดเส้นทางของรถทั้งสองคันทั้ง 21 เส้นทาง ที่สอดคล้องกับจำนวนถังคอนเทนเนอร์ จะประมวลผลด้วยโปรแกรม ArcView Network Analyst และได้ระยะทางเก็บขยะสั้นกว่าเดิม คิดเป็น 13.7% ต่อสัปดาห์ ส่วนการเก็บขยะแบบถังคงที่จะใช้ปริมาณมูลฝอยต่อวัน เป็นเกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้คำสั่ง ALLOCATE ทั้ง 12 พื้นที่เก็บขยะ และกำหนดเส้นทางเก็บขยะของรถทั้งสิบสองคันด้วยโปรแกรม ArcView Network Analyst และได้ระยะทางเก็บขยะสั้นกว่าเดิมคิดเป็น 3.7% ต่อวัน
Other Abstract: To create a geographic information database system and to determine the optimum route of lorry with the shortest path. Efficiency improvement of the solid waste collection service in Laemchabang Municipality. Changwat Chon Buri, has been studied by means of the network analysis technique. The study commences by reviewing the current manipulation of solid waste collection and collecting various types of spatially related information for designing database system. The solid waste collection is composed of 2 systems : the Hauled Container System, and the Stationary Container System. As the start of the system, the area for solid waste collection for each lorry is divided. The proportion of the solid waste collection per week, the Hauled Container System, is considered using the Tabular Analysis. The quantity of the solid waste data per day, the Stationary Container System, is then analyzed and the data are executed by using an ALLOCATE command in the ARCPLOT module of the Arc/Info environment. As a result, the solid waste collection routes are determined with the Find Best Route function of the ArcView Network Analyst software. The result of these analysis is shown in various formats; namely, tables, maps and solid waste collection routing reports. Results from the Hauled Container System analyzed by the Tabular Analysis technique reveal that the sums of the distances for each lorry are 615.1 and 617.6 kilometers respectively or 33 routes per week. The solid waste collection routes for the two lorries along 21 routes based on a number of the Hauled Containers are executed by the ArcView Network Analyst software and it provides a shorter distance than the conventional approach or a reduction rate of 13.7% per week. The results from the Stationary Container System based on the quantity of the solid waste per day are analyzed and executed by using an ALLOCATE command for all 12 solid waste collection areas. The solid waste collection routes for all 12 lorries are executed by the ArcView Network Analyst software and it yields a shorter distance than the conventional approach of a reduction rate of 3.7% per day.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.779
ISBN: 9741770049
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.779
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.