Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59162
Title: การพัฒนาการทำงานร่วมกันแบบทันทีระหว่างมาตรฐาน IEEE1888 และมาตรฐาน ECHONET Lite สำหรับระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร
Other Titles: Development of real-time interworking between IEEE1888 and ECHONET Lite standards for building energy management system
Authors: ชญานนท์ แสงอำไพ
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@Chula.ac.th,chaodit.b@gmail.com
Subjects: การใช้พลังงานไฟฟ้า -- การประมวลผลข้อมูล
การก่อสร้าง -- การใช้พลังงาน -- การประมวลผลข้อมูล
การใช้พลังงานไฟฟ้า -- การจัดการ
การก่อสร้าง -- การใช้พลังงาน -- การจัดการ
Electric power consumption -- Data processing
Building -- Energy consumption -- Data processing
Electric power consumption -- Management
Building -- Energy consumption -- Management
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาการทำงานร่วมกันแบบทันทีระหว่างมาตรฐาน IEEE1888 และมาตรฐาน ECHONET Lite สำหรับระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร มาตรฐาน IEEE1888 และมาตรฐาน ECHONET Lite ถูกพัฒนามาในรูปแบบมาตรฐานแบบเปิด จึงรองรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ได้ มาตรฐาน IEEE1888 ใช้รูปแบบข้อความ XML และเหมาะสำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย มาตรฐาน ECHONET Lite ได้การยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับการสนับสนุนที่เกิดขึ้นใหม่จากผู้ผลิตหลายราย เช่น อุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น การประสานข้อมูลแบบทันทีจากมาตรฐาน IEEE1888 ไปยังมาตรฐาน ECHONET Lite เริ่มจากอินเตอร์เวิร์กกิงพร็อกซีเกตเวย์ส่งการร้องขอการแจ้งเตือน TRAP ตามมาตรฐาน IEEE1888 ไปยังหน่วยเก็บข้อมูล BEMS เมื่อข้อมูลเกิดการเปลี่ยนแปลง การตอบกลับ TRAP callback จะถูกส่งต่อไปยังอินเตอร์เวิร์กกิงพร็อกซีเกตเวย์ทันทีพร้อมกับค่าของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง ต่อมาจึงส่งการร้องขอ WRITE ตามมาตรฐาน ECHONET Lite ไปยังโนด ECHONET Lite เป้าหมาย การประสานข้อมูลแบบทันทีนี้เกิดข้อความขนาดรวมกันทั้งหมด 2,410 ไบต์ การทดสอบนี้ถูกพิจารณาในที่ซึ่งตัวรับรู้ IEEE1888 ชนิด PIR กระตุ้นอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ ECHONET Lite ที่พร้อมใช้งานภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ และการประสานข้อมูลแบบทันทีในทิศทางกลับกันจากมาตรฐาน ECHONET Lite ไปยังมาตรฐาน IEEE1888 เริ่มจากอินเตอร์เวิร์กกิงพร็อกซีเกตเวย์ส่งการร้องขอ NOTIFY ไปยังโนด ECHONET Lite ตัวอย่างเช่น เพื่อตรวจจับสถานะของอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ โนด ECHONET Lite จะส่งข้อความตอบกลับพร้อมกับค่าของสถานะที่เปลี่ยนแปลงไปยังอินเตอร์เวิร์กกิงพร็อกซีเกตเวย์ จากนั้นจึงส่งข้อมูลสถานะไปเก็บยังหน่วยเก็บข้อมูล BEMS ด้วยโพรโทคอล WRITE ตามมาตรฐาน IEEE1888 จากการทดสอบภายในห้องคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ การประสานข้อมูลแบบทันทีนี้เกิดข้อความขนาดรวมกันทั้งหมด 860 ไบต์ นอกจากการประเมินเพย์โหลด การประสานข้อมูลแบบทันทีระหว่างสองมาตรฐานถูกทดสอบในแง่ของสมรรถนะการหน่วงเวลา เมื่อเพิ่มความถี่ในการร้องขอ WRITE ต่อนาที จากอินเตอร์เวิร์กกิงพร็อกซีเกตเวย์ไปยังหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับการเปลี่ยนแปลงค่าของข้อมูล ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าเวลาที่ใช้ตลอดการประสานข้อมูลแปรผันจาก 178 ถึง 424 มิลลิวินาที เมื่อความถี่ของการส่ง WRITE เพิ่มขึ้นจาก 1 ถึง 50 ครั้งต่อนาที ในตอนท้ายได้มีการตรวจสอบการใช้งานโหมดทุกโหมดของตัวควบคุม ECHONET Lite ซึ่งถูกติดตั้งไว้สำหรับอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศภายในห้องปฏิบัติการ จากผลการทดสอบโหมดซึ่งสามารถใช้งานได้ในขณะนี้ คือ สถานะการเปิดปิด การตั้งค่าโหมดการใช้งาน การตั้งค่าอุณหภูมิ ค่าอุณหภูมิที่วัดได้ภายในห้อง การตั้งค่าระดับพัดลม การตั้งค่าส่ายลมอัตโนมัติของพัดลม และการตั้งค่าทิศทางของพัดลมตามแนวแกนตั้ง
Other Abstract: This thesis presents the development of real-time interworking between IEEE1888 and ECHONET Lite standards for a building energy management system (BEMS). Both IEEE1888 and ECHONET Lite have been developed as open standards; hence, a support for application and equipment development. IEEE1888 standard uses an XML message format and is suitable for a wide range of machine-to-machine communications. ECHONET Lite standard is widely accepted in Japan with emerging supports by equipment manufacturers such as for air conditioners. The real-time data synchronization from IEEE1888 to ECHONET Lite standards starts with the interworking proxy gateway sending an IEEE1888 TRAP alert query to the BEMS storage. When the trapped data changes, a TRAP callback can then be forwarded immediately with the changed data value to the interworking proxy gateway, which subsequently sends an ECHONET Lite WRITE request to a target ECHONET Lite node. This real-time synchronization generates messages with the total size of 2,410 bytes in the considered testbed where a PIR sensor from IEEE1888 triggers an ECHONET Lite compliant air conditioner inside the laboratory’s computer cluster room. In the reversed data synchronization direction from ECHONET Lite to IEEE1888 standards, the process starts with the interworking proxy gateway sending a NOTIFY request to ECHONET Lite node e.g. to detect the air conditioner status. With a changed value of the status, the ECHONET Lite node sends a response message to the interworking proxy gateway, which subsequently pushes that status data into the BEMS storage by using the IEEE1888 WRITE protocol. In the testbed at the computer cluster room, this real-time synchronization from ECHONET Lite to IEEE1888 standards generates messages with the total size of 860 bytes. In addition to payload evaluation, the real-time data synchronization between the two standards has been tested in terms of time delay performance. When increasing the frequency of the WRITE queries per minute from the interworking proxy gateway to the storage for changing data values and causing subsequent synchronization messages, the results show that the round-trip time delay varies from 178 to 424 milliseconds when the WRITE frequency is increased from 1 to 50 times per minute. Finally, all modes of the ECHONET Lite controller installed for the in-laboratory air conditioner have been verified. From the testing results, the currently functional ECHONET Lite modes are the operation status, operation mode setting, set temperature value, measured value of room temperature, air flow rate setting, automatic swing of air flow setting and air flow direction (vertical) setting.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59162
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.957
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.957
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770143621.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.