Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59171
Title: การพัฒนาฟังก์ชันเสมือนสำหรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์
Other Titles: Development of virtual function for internet of things in building energy management system using cloud technology
Authors: อภิชาติ วรรธะมานี
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@Chula.ac.th,chaodit.b@gmail.com
Subjects: อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง
การสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกล
การใช้พลังงานไฟฟ้า -- การประมวลผลข้อมูล
อาคาร -- การใช้พลังงาน -- การประมวลผลข้อมูล
Internet of things
Machine-to-machine communications
Electric power consumption -- Data processing
Buildings -- Energy consumption -- Data processing
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนา และการสร้างฟังก์ชันเสมือนสำหรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ฟังก์ชันเสมือนนี้ถูกสร้างบนแพลตฟอร์มโอเพนสแต็กซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์แบบโอเพนซอร์สด้วยโปรแกรมโอเพนบาตงซึ่งเป็นโปรแกรมประสานฟังก์ชันโครงข่ายเสมือน เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสร้างฟังก์ชันเสมือนสำหรับระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้โดยง่าย และจัดสรรทรัพยากรคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับความต้องการของฟังก์ชันเสมือน วิทยานิพนธ์นี้สร้างและทดสอบฟังก์ชันเสมือนจำนวน 3 ฟังก์ชันเพื่อเป็นตัวอย่าง ลำดับที่หนึ่ง ฟังก์ชันเสมือนการทำงานร่วมกันแบบทันทีระหว่างมาตรฐาน IEEE1888 และมาตรฐาน ETSI M2M สามารถเริ่มต้นการทำงานในระบบทดสอบได้ภายในระยะเวลาเฉลี่ย 262 วินาที โอเพนบาตงสามารถปรับจำนวนเครื่องเสมือนเอ็นเอสซีแอลแบบอัตโนมัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณข้อมูลที่ถูกส่งเข้าสู่ระบบ จากระบบทดสอบที่สร้างขึ้น เครื่องเสมือนเอ็นเอสซีแอลสามารถถูกสร้างเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาเฉลี่ย 119 วินาที และถูกทำลายภายในระยะเวลา 5 วินาที ผลการทดสอบพบว่า เมื่อใช้เครื่องเสมือนเอ็นเอสซีแอล 2 เครื่อง แพลตฟอร์มโอเพนเอ็มทีซีสามารถรองรับข้อมูลต่อนาทีเพิ่มขึ้น 29.2 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อใช้เครื่องเสมือนเอ็นเอสซีแอล 3 เครื่องสามารถรองรับข้อมูลต่อนาทีเพิ่มขึ้น 32.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องเสมือนเอ็นเอสซีแอล 1 เครื่อง เครื่องเสมือนมองโกดีบีสามารถเริ่มต้นการทำงานแบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลของแพลตฟอร์มโอเพนเอ็มทีซีภายในระยะเวลา 98 วินาที ลำดับที่สอง ฟังก์ชันเสมือนการทำงานร่วมกันแบบทันทีระหว่างมาตรฐาน IEEE1888 และมาตรฐาน ECHONET Lite สามารถเริ่มต้นทำงานภายในระยะเวลา 210 วินาที ฟังก์ชันเสมือนนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิในห้องคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์จากระบบ CU-BEMS เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องปรับอากาศที่เชื่อมต่อกับโนด ECHONET Lite ส่งผลให้สามารถควบคุมอุณหภูมิในห้องคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์นี้ได้ ลำดับสุดท้าย ฟังก์ชันเสมือนโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารบนพื้นฐานมาตรฐาน IEEE1888 สามารถเริ่มต้นการทำงานได้ภายในระยะเวลา 450 วินาที ฟังก์ชันเสมือนนี้แสดงอัตราส่วนค่าความสูญเปล่าของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบเครื่องปรับอากาศภายในอาคารผ่านโปรแกรมสร้างมโนภาพเชิงโต้ตอบ เพื่อให้ผู้ใช้รับรู้ค่าความสูญเปล่าจากการใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ฟังก์ชันเสมือนนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานโปรแกรมสร้างมโนภาพเชิงโต้ตอบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะแคนวาสปริยายเท่านั้น เนื่องจากโปรแกรมไม่ตอบสนองต่อการโบกมือของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันเสมือนนี้จะดำเนินการเริ่มโปรแกรมใหม่เมื่อผู้ใช้งานมากกว่า 5 คนไม่สามารถเข้าใช้แคนวาสอื่นที่ไม่ใช่แคนวาสปริยายได้ภายในระยะเวลา 20 นาที โดยสรุปแล้ว ผลลัพธ์จากวิทยานิพนธ์นี้คาดหวังจะสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาฟังก์ชันเสมือนต่างๆบนแพลตฟอร์มคลาวด์ในอนาคตได้ต่อไป
Other Abstract: This thesis introduces the development and implementation of a virtual function for internet of things in building energy management system using cloud technology. This virtual function has been implemented on an open-source cloud platform OpenStack using Open Baton, a network function virtualization orchestrator software. Thus, system administrators can implement the virtual function for building energy management system easily and allocate a suitable computer resource for the virtual function requirement. This thesis implements and tests 3 virtual functions as an example. Firstly, a virtual function of real-time interworking system between IEEE1888 and ETSI M2M can be started in the testbed within 262 seconds. Open Baton can adjust automatically the number of NSCL instances in response to the changing amount of input data. With the constructed testbed, an NSCL instance can be started within 119 seconds and terminated within 5 seconds. Based on the tested result, the OpenMTC platform can increase the data recording rate by 29.2 percentages with 2 NSCL instances, and 32.9 percentages with 3 NSCL instances, when compared with the case using only one NSCL instance. A MongoDB instance can be started automatically for extending the storage of OpenMTC platform within 98 seconds. Secondly, a virtual function of real-time interworking system between IEEE1888 and ECHONET Lite can be started within 210 seconds. This virtual function can analyze a temperature data inside a computer cluster room from CU-BEMS for controlling the air conditioner connecting with an ECHONET Lite node. As a result, the temperature inside this room can then be controlled. Finally, a virtual function of data analytic program for the IEEE1888-based building energy management system can be started within 450 seconds. This virtual function displays a wasted energy ratio of electrical energy used by air conditioning system on an interactive visualization program. Users thus get information about a wasted electricity consumption. In addition, this virtual function can analyze the interactive visualization program usage data for solving the problem that users can access only a default canvas. Since the program cannot interact with a user’s hand waving. For instance, this virtual function would reset the interactive visualization program when more than 5 users cannot access another non-default canvas within 20 minutes. In conclusion, the result of this thesis is expected to demonstrate a proven framework for developing arbitrary virtual functions on a cloud platform in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59171
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.954
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.954
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770572121.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.