Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5925
Title: ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการต่อการดำเนินงาน หน่วยบริการปฐมภูมิภาครัฐ ภายใต้นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Providers' and consumers' opinion toward the activities of governmental primary care units under the universal coverage health insurance policy in Samut Prakan province
Authors: ปรีชา สุวรรณทอง
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Ong-arj.V@Chula.ac.th
fmedslm@md2.md.chula.ac.th
Subjects: ประกันสุขภาพ
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ความพอใจในการทำงาน
สาธารณสุขมูลฐาน -- ไทย -- สมุทรปราการ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ ต่อการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิภาครัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการ ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ขนาดตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 407 คน ตอบกลับ 387 คน (อัตราตอบกลับ 95.1%) และผู้รับบริการ 580 คน ตอบข้อมูล 559 คน (อัตราตอบ 96.4%) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินตนเอง สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2545 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2546 สถิติที่ใช้ ได้แก่ Paired t-test, Unpaired t-test, One-way ANOVA และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนมากเป็นเพศหญิง (72.9%) อายุเฉลี่ย 32 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี (70.0%) ความคิดเห็นต่อความสำคัญของกิจกรรม และความพึงพอใจต่อสภาพระบบงานทั้ง 5 ด้าน (59 ข้อ) ได้แก่ การบริหาร การบริการ การพัฒนาวิชาการ การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบบริการ และผลการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยการให้ความสำคัญสูงกว่าความพึงพอใจในทุกด้าน/กิจกรรม และผู้ปฏิบัติงานให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุดมากกว่า 50% เกือบทุกกิจกรรม ยกเว้นการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 24 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ตอบพึงพอใจมากถึงมากที่สุดมากกว่า 50% เพียง 21 จาก 59 กิจกรรม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหน่วยคู่สัญญา ที่บริหารหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (PCUs under CUPs) พบว่า การให้ความสำคัญในด้านการบริหาร การพัฒนาวิชาการและภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ความพึงพอใจไม่มีความแตกต่างกัน ในส่วนของผู้รับบริการส่วนมากเป็นเพศหญิง (70.6%) อายุเฉลี่ย 34 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (42.7%) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ความสำคัญ และความพึงพอใจในด้านผลการดำเนินงาน (18 ข้อ) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยการให้ความสำคัญสูงกว่าความพึงพอใจในทุกกิจกรรม และผู้รับบริการให้ความสำคัญและพึงพอใจมากถึงมากที่สุดมากกว่า 50% ทุกกิจกรรม สำหรับการเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในด้านผลการดำเนินงาน พบว่า การให้ความสำคัญมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คะแนนเฉลี่ยของผู้ปฏิบัติงานสูงกว่าผู้รับบริการ ในขณะที่ความพึงพอใจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยของผู้รับบริการสูงกว่าผู้ปฏิบัติงาน สรุป แนวทางในการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิภาครัฐ ควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการให้คะแนนความสำคัญสูงแต่คะแนนความพึงพอใจตำในทุกด้าน/กิจกรรม และความแตกต่างของการให้ความสำคัญและความพึงพอใจระหว่าง CUP ควรนำไปพิจารณากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป
Other Abstract: To determine the opinion of providers and consumers toward work activities of governmental Primary Care Unit (PCU) in Samut Prakan province. Research Design : Cross-sectional descriptive study. Samples Size : There were 387 respondents out of total 407 providers (95.1%) and 559 respondents out of 580 consumers (96.4%) Instrument : Self-assessment questionnaires for providers' and consumers'. Data Collection : The study was conducted during December 2002 to February 2003. Statistical Analysis : Paired t-test, Unpaired t-test, One-way ANOVA and Mann-Whitney U test. Results : The majority of providers were female (72.9%), mean age was 32 years and graduated from bachelor degree (70.0%). Regarding the perception on importance and satisfaction of specified activities (59 items) in the 5 dimensions listed namely, management, service, education, participatory services improvement, and the results, the higher mean scores of importance than satisfaction were observed in all specified activities/dimensions with statistically significant differences (p<0.001). Furthermore, 58 out of 59 activities were rated as high importance, except the 24 hours telephone counseling in contrast with those 21 out of 59 activities were rates as highly satisfied by more than half of the respondents. In comparison the performances of PCUs under CUPs, it indicated that the importance of management, education, and overall dimensions were statistically significant different (p<0.05), but no differences in the satisfaction mean scores. For consumers' respondents, the majority of them were female (70.6%), mean age was 34 years and finished secondary school (42.7%). Regarding opinion toward the importance and satisfaction with the result of services provision (18 items), there were statistically significant differences (p<0.001) and the mean scores of importance were higher than satisfaction in all items listed. Furthermore, the importance and satisfaction were also rated as high scores (4-5) in all items by >50% of respondents. In terms of comparison of the results, the importance rating were found statistically significance differences (p<0.05) between providers and consumers with higher mean score of providers than consumers. Whereas all of the satisfaction mean scores were higher marked by consumers than providers with statistically significance differences (p<0.001). Conclusion : The findings revealed that those high importance activities specified with lower satisfaction should be continuously improved in all dimensions and the differences among various PCUs performances of particular CUPs must be concerned for best practice in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5925
ISBN: 9741725914
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.