Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59483
Title: | การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์โดยอาศัยเครือข่ายสถานี GNSS แบบต่างๆ ในประเทศไทย |
Other Titles: | Evaluating the performance of various network-based real-time kinematic GNSS techniques in Thailand |
Authors: | สมเกียรติ ทิพย์สุมณฑา |
Advisors: | เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chalermchon.S@Chula.ac.th,csatirapod@gmail.com |
Subjects: | ดาวเทียมในการรังวัด Artificial satellites in surveying |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสหรือ GNSS (Global Navigation Satellite System) ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศไทย การรังวัดแบบจลน์หรือ RTK (Real Time Kinematic) ซึ่งให้ความถูกต้องอยู่ในระดับเซนติเมตรและต้องการเวลาในการรังวัดในสนามไม่นาน อย่างไรก็ตามการรังวัดแบบ RTK ยังมีข้อจำกัดอยู่ (ระยะทางจากสถานีฐานโดยปกติน้อยกว่า 20 ก.ม.) การรังวัดแบบจลน์โดยอาศัยระบบเครือข่ายหรือ NRTK (Network-based Real Time Kinematic) ได้ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทั่วไป NRTK มีอยู่ 4 แนวคิด ยกตัวอย่างเช่น Virtual Reference Station (VRS), Flächen Korrektur Parameter (FKP), Master Auxiliary Concept (MAX) และ Individualized MAX (i-MAX) ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการประเมินประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้ง 4 ระบบนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทดสอบทั้ง 4 ระบบนี้โดยใช้ซอฟต์แวร์ SpiderNet โดยทำการทดสอบที่สถานี DPT9 และ GISTDA ตั้งรับสัญญาณนาน 1 วันและทำการรับสัญญาณแบบมีการเคลื่อนที่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ละระบบเครือข่ายที่ทำการทดสอบมีความยาวของเส้นฐาน 2 ขนาด ได้แก่ 20 – 50 และ 40 – 60 กิโลเมตร ผลการทดสอบที่สถานี DPT9 และ GISTDA พบว่าจำนวนพิกัดที่อยู่ในโหมด Fixed Solution ทั้ง 2 เครือข่ายมีค่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ทั้งหมดและเปรียบเทียบผลกับการรับสัญญาณแบบ Static พบว่าระบบ VRS ให้ความถูกต้องและความแม่นยำมากที่สุดสำหรับผลการทดสอบจากการรับสัญญาณแบบมีการเคลื่อนที่พบว่าระบบ MAX ให้ผลค่าพิกัดที่อยู่ในโหมด Fixed Solution โดยเฉลี่ยมากที่สุดจากทั้งสองเครือข่าย |
Other Abstract: | Currently, GNSS surveying is widely used in Thailand. Most of survey products can be obtained by the Real Time kinematic (RTK) mode which can provide positioning results at centimeter level of accuracy and requires less time in the field. However, the RTK method has some limitations (i.e. limited distance from the base station typically less than 20 km). The Network-based Real Time Kinematic (NRTK) has therefore been developed to overcome such problem. Generally, there are four NRTK concepts, for example, Virtual Reference Station (VRS), Flächen Korrektur Parameter (FKP), Master Auxiliary Concept (MAX) and Individualized (i-MAX). The performance of the four systems has never been assessed in Thailand. This research aims to test these systems by using SpiderNet Software. The results obtained from each NRTK system are compared. This experiment, station DPT9 and GISTDA are tested with 1-day observation period for each system. Tested networks have two different sizes which are 20 – 50 and 40 – 60 kilometers. It was found that the percentage of fixed solution is more than 50 percent. The horizontal coordinates are compared with the static result, found VRS provided best result in horizontal accuracy and precision. The kinematic result MAX provided most of fixed solution mode of two networks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสำรวจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59483 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1400 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1400 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770510221.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.