Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59641
Title: การเตรียมไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ไฮโดรเจล
Other Titles: PREPARATION OF CHITOSAN/POLYVINYL ALCOHOL HYDROGEL
Authors: พริม ภักดีธรรม
Advisors: กาวี ศรีกูลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kawee.S@Chula.ac.th,Kawee.S@Chula.ac.th
Subjects: ไคโตแซน
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์
Polyvinyl alcohol
Chitosan
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไคโตซาน (CS) เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพซึ่งมีการตอบสนองที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ การใช้ไคโตซานเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นปิดแผลยังมีข้อจำกัดบางประการเนื่องจากความอ่อนแอของแผ่นฟิล์ม นอกจากนั้นแผ่นไคโตซานยังมีความยืดหยุ่นไม่มากพอและแตกหักได้ง่าย ดังนั้นจึงได้เตรียมแผ่นไคโตซานบนผ้าเพื่อเป็นวัสดุฐานรอง การเตรียมไฮโดรเจลผสมโดยใช้ไคโตซานผสมพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ทั้งหมด 2% (w/v) ในสารละลายกรดอะซิติก 1% (v/v) ที่อัตราส่วน 0.75 ไคโตซาน ต่อ 0.25 พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นอัตราส่วนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของไฮโดรเจลผสมที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 89.12% ซึ่งมีขั้นตอนการเตรียมโดยนำสารละลายไฮโดรเจลไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสม เทลงบนผ้าและอบแห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง อัตราส่วนของส่วนผสมไคโต-ซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ในการทดสอบคือตั้งแต่ 2:0 ถึง 0:2 เพื่อหาปริมาณน้ำที่เหมาะสม และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงเติมน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (Cymbopogon citratus) เข้าไปปริมาณ 3.125% (v/v) ในขณะขึ้นรูปไฮโดรเจล จากการทดสอบแผ่นไฮโดรเจลผสมไคโตซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ด้วยวิธีทดสอบ AATCC 100 (Antibacterial Finishes on Textile Materials: Assessment of) ผลจากการทดลองน้ำมันตะไคร้หอมระเหย สามารถเพิ่มประสิทธิการต้านเชื้อของไฮโดรเจลผสมไคโต-ซาน/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์บนฐานรองซึ่งสามารถยับยั้ง S.aureus ได้จาก 6.16 ± 0.02 log CFU/ml เหลือ 0.00 หรือ 99.99% ใน 24 ชั่วโมง
Other Abstract: Chitosan (CS) is a biocompatible polymer which has good host response and antimicrobial activity. Its use in the wound dressing film is limited because of the film weakness. Moreover, chitosan film is not flexible and broken easily. Therefore, chitosan film on support fabric was prepared. CS/PVA blended hydrogel were prepared by dissolving 2% (w/v) CS/PVA blend in 1% (v/v) acetic acid solution. The 0.75 CS/ 0.25 PVA was the most effective ratio of the blended hydrogel which was able to retain 89.12% of water. The CS/PVA solution was poured on fabric and dried at 40 °C for 72 h. The ratio of CS/PVA blends were varied from 2:0 to 0:2 in order to find optimum water retention. To enhance antimicrobial activity, the lemongrass essential oil (Cymbopogon citratus) was added into the CS/PVA solution at 3.125% (v/v). The reduction of microbial reactivity of the CS/PVA hydrogel fabric was tested according to AATCC Test Method 100 (Antibacterial Finishes on Textile Materials: Assessment of). The results of experiments indicated that lemongrass essential oil helped improving antimicrobial activity of hydrogel fabric against S.aureus from 6.16±0.02 Log CFU/ml down to 0.00 or 99.99 % reduction in 24 hours.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59641
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1048
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1048
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5872403223.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.