Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59778
Title: | ความชุก ลักษณะ และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6 |
Other Titles: | THE PREVALENCE, CHARACTERISTICS AND RELATED FACTORS OF WORKPLACE VIOLENCE IN HEALTHCARE WORKERS IN EMERGENCY DEPARTMENTS OF GOVERNMENT HOSPITAL IN 6th REGIONAL SERVICE PROVIDER OF THAILAND. |
Authors: | นภัสวรรณ พชรธนสาร |
Advisors: | สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somrat.L@Chula.ac.th,Somrat.L@chula.ac.th |
Subjects: | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม Industrial safety |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ลักษณะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตบริการสุขภาพที่ 6 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 472 คน คิดเป็นอัตราเข้าร่วมร้อยละ 81.38 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการประสบเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานในช่วง 12 เดือนก่อนทำการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 61.7 (95% CI: ร้อยละ 57.4 ถึง 65.9) โดยพบความชุกเหตุความรุนแรงทางวาจามากที่สุด รองลงมาเป็นความชุกเหตุความรุนแรงทางกาย และความชุกเหตุความรุนแรงทางเพศตามลำดับ ผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางกาย และทางเพศ คือ ผู้ป่วย ส่วนผู้ก่อเหตุหลักของเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ ญาติและผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุความรุนแรงทางกาย คือ เพศชาย มีประสบการณ์การทำงานน้อย อาชีพพนักงานผู้ช่วย ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยมากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเหตุความรุนแรงทางวาจา คือ อายุน้อย ประสบการณ์การทำงานน้อย ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน มีลักษณะงานต้องปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วยและญาติ มีการทำงานหมุนเวียนกะ และมีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินกว่า 48 ชั่วโมง สรุปผลการศึกษา ความชุกของการเกิดเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินพบได้บ่อย และส่งผลกระทบต่อบุคลากรทั้งต่อร่างกายและจิตใจของบุคลากร การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการรับมือและป้องกันสถานการณ์ที่เหมาะสมอาจป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุความรุนแรงขณะปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานได้ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study prevalence, characteristics and related factors of workplace violence among healthcare workers in accident and emergency department of government hospital in 6th Regional Service Provider of Thailand. This study is a cross-sectional descriptive study and has 472 samples in total. Response rate was 81.38%. The results reveal that the prevalence of workplace violence in 12 months before study was 61.7% (95% CI: 57.4% to 65.9%). The prevalence of verbal violence was the most common with 94.2%. The prevalence of physical violence was a close second with 26.1% and the prevalence of sexual violence was 6.5 respectively. Troublemakers who commit physical violence and sexual violence were patients while troublemakers who commit verbal violence were patients’ relatives. Related factors of physical violence were male, little work experience, auxiliary, working hours approximately more than 48 hours per week and deficiency of staff. Related factors of verbal violence were young age, little work experience, holding a position as an operator, direct interaction with patients and patients’relatives, shift work and working hours approximately more than 48 hours per week. The prevalence of workplace violence among emergency healthcare workers was common and affects both physical and mental health of healthcare workers including causing burnout and early resignation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59778 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.752 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.752 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974007930.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.